วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

โครงสร้างทางการเงินและการจัดหาเงินทุน

จัดทำบทความโดย นาย นที สู่เสรีดำรง

        โครงสร้างทางการเงิน หมายถึง  แหล่งที่มาของเงินทุนทั้งหมดของธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยหนี้สินหมุนเวียน
 หนี้สินไม่หมุนเวียนและส่วนของผู้ถือหุ้น หรือหมายถึงข้อมูลเฉพาะส่วนของหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้นในงบดุลนั่นเอง
สำหรับแหล่งที่มาของเงินทุนเฉพาะส่วนของเงินทุนระยะยาวทั้งหมดของธุรกิจ ซึ่งได้แก่ หนี้สินไม่หมุนเวียนและ
ส่วนของผู้ถือหุ้น เรียกว่า โครงสร้างเงินทุน ซึ่งเป็นเงินทุนหลักที่ธุรกิจใช้เพื่อลงทุน ดังนั้น โครงสร้างเงินทุนเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างทางการเงิน               
 โครงสร้างทางการเงิน = หนี้สินหมุนเวียน + หนี้สินไม่หมุนเวียน+ ส่วนของผู้ถือหุ้น


        โครงสร้างของเงินทุน หมายถึง การจัดหาเงินทุนระยะยาวของธุรกิจ ซึ่งได้แก่หนี้สินระยะยาว หุ้นบุริมสิทธิ
และส่วนของผู้ถือหุ้น โครงสร้างจองเงินทุนจะไม่รวมหนี้สินระยะสั้น ดังนั้นโครงสร้างของเงินทุนจึงเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างทางการเงิน               
 โครงสร้างเงินทุน = หนี้สินไม่หมุนเวียน+ ส่วนของผู้ถือหุ้นตลาดการเงิน (Financial Markets)


ตลาดการเงินเป็นแหล่งเงินทุนซึ่งทำหน้าที่ให้กู้ยืมและลงทุนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ
       ตลาดการเงินที่ไม่เป็นทางการหรือตลาด OTC หมายถึง  แหล่งที่มีการระดมเงินทุนและการจัดสรรเงินทุนระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาวจากแหล่งเงินทุนที่ไม่มีกฎหมายควบคุม ผู้เกี่ยวข้องส่วนใหญ่เป็นบุคคลธรรมดา ตลาดการเงินที่ไม่เป็นทางการโดยทั่วไปจะไม่มีหลักเกณฑ์หรือระเบียบมากนัก อาจไม่มีหลักเกณฑ์การกู้ยืม ไม่มีข้อมูลสินค้าที่ถูกต้อง และแน่นอน ความเสี่ยงและผลตอบแทนในการกู้ยืมสูง
        ตลาดการเงินที่เป็นทางการ (Organized Financial Market) หมายถึง แหล่งที่มีการระดมเงินทุนและการจัดสรรเงินทุนระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาวจาก สถาบันการเงินที่ตั้งขึ้นมาตามกฎหมาย มีหลักเกณฑ์การปฏิบัติที่แน่นอน ผู้เกี่ยวข้องส่วนใหญ่เป็นนิติบุคคล การกู้ยืมมีหลักฐาน เช่น การทำสัญญากู้เงินและการใช้ตั๋วสัญญาใช้เงิน เป็นต้น มีการบันทึกข้อมูลสินเชื่อ การให้กู้ยืม ในตลาดการเงินที่เป็นทางการมีความเสี่ยงและผลตอบแทนต่ำกว่าการให้กู้ยืมในตลาดการเงินที่ไม่เป็นทางการ


บทบาทของตลาดการเงิน
         ตลาดการเงิน เป็นตลาดที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้มีเงินออมกับผู้ที่ต้องการเงินตามระบบเศรษฐกิจทุนนิยม


โดยเปลี่ยนเงินออมไปเป็นการลงทุนทั้งในรูปของการให้สินเชื่อ และการลงทุนในหลักทรัพย์ ตลาดการเงิน
สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ตลาดเงิน (Money market) คือตลาดที่มีการระดมเงินจากประชาชนและการให้ สินเชื่อระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี
ทั้งแก่ภาครัฐและเอกชน ซึ่งรวมถึงนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา รวมทั้งการซื้อขายหลักทรัพย์ทางการเงินที่มีอายุ
การไถ่ถอนระยะสั้น เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วเงินคลัง เป็นต้น

2. ตลาดทุน (Capital market) คือ แหล่งระดมเงินทุนได้โดยผ่านการกู้ยืมจากธนาคารและสถาบันการเงิน ซึ่งจะระดม
เงินทุนจากผู้มีเงินออมในรูปของการรับฝากหรือกู้ยืมเงิน โดยมีผลตอบแทนเป็นการจูงใจคือดอกเบี้ย


2.1   ตลาดสินเชื่อทั่วไป  สามารถระดมเงินทุนได้โดยผ่านการกู้ยืมจากธนาคารและสถาบันการเงิน
ซึ่งจะระดมเงินจากผู้มีเงินออมในรูปของการรับฝากหรือกู้ยืมเงิน โดยมีผลตอบแทนเป็นการจูงใจคือดอกเบี้ย

                2.2   ตลาดหลักทรัพย์และตลาดตราสารหนี้  เป็นตลาดที่มีการออดตราสารทางการเงินหรือหลักทรัพย์ เช่น
               หุ้นสามัญ หุ้นกู้ และพันธบัตร เป็นต้น                นอกจากนั้น ทั้งสองตลาดนี้ ยังสามารถแบ่งออกเป็น


1.     ตลาดแรก (Primary market) คือ ตลาดที่ทำการซื้อขายเฉพาะหลักทรัพย์จากองค์กรหรือ
บริษัทผู้ออกโดยตรง โดยไม่ผ่านสถาบันการเงิน บริษัท หลักทรัพย์ หรือกองทุนรวมใดๆ

2.     ตลาดรอง  (Secondary market) คือตลาดที่ทำการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เคยถูกทำการซื้อขาย
มาแล้วในตลาดแรก ส่วนใหญ่มักจะซื้อผ่านคนกลาง เช่น สถาบันการเงิน ท่านอาจจะจำลักษณะ
ของตลาดรองว่าคล้ายๆ กับตลาดขายของมือสอง ซึ่งเป็นตลาดที่มีไว้สำหรับเปลี่ยนมือ
หลักทรัพย์เท่านั้น  การจัดหาแหล่งเงินทุนระยะสั้น (Short-Term  Financing)

                เงินทุนระยะสั้น  หมายถึง  เงินทุนที่ธุรกิจจัดหามาเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการที่มีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี 
 จำนวนและระยะเวลาของเงินทุนระยะสั้นที่ธุรกิจต้องจัดหามานั้น  ได้จาการจัดทำงบประมาณเงินสดแหล่งเงินทุนระยะสั้นสินเชื่อทางการค้า    (Trade Credit)

  • ผู้ขายมอบสินค้าให้ก่อนที่ผู้ซื้อจะชำระเงิน (เงินทุนที่เกิดโดยอัตโนมัติ)
  • เงื่อนไขของสินเชื่อการค้ามีรายละเอียดเกี่ยวกับ

    • การกำหนดเวลาเริ่มต้น (EOM หรือ วันที่ที่ปรากฏในใบกำกับสินค้า)
    • การกำหนดเวลาที่ได้รับส่วนลด
    • การกำหนดอัตราส่วนลด
    • การกำหนดเวลาชำระหนี้สิน
    • เช่น 2/10, n/30 EOM
ตราสารพาณิชย์ (Commercial Paper)

  • ตั๋วสัญญาใช้เงินระยะสั้น ไม่ต้องมีหลักประกัน
  • ออกโดยบริษัทขนาดใหญ่ มีฐานะทางการเงินที่ดี
  • ต้นทุนต่ำกว่าการกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์
 เงินกู้ระยะสั้นจากธนาคารโดยไม่มีหลักประกันเงินกู้เฉพาะกรณี (Transaction Loan)

  • กู้เฉพาะโครงการใดโครงการหนึ่ง ที่ระบุระยะเวลาและอัตราดอกเบี้ย
  • พิจารณาเป็นโครงการไป
แบบกำหนดวงเงินกู้ (Line of Credit)

  • เป็นข้อตกลงระหว่างธนาคารกับลูกค้าอย่างไม่เป็นทางการโดยธนาคารกำหนดวงเงินสูงสุดในการให้กู้
  • ข้อตกลงดังกล่าวโดยทั่วไปอายุไม่เกิน 1 ปี เมื่อครบกำหนดอาจขอต่อสัญญาใหม่
 เงินกู้ระยะสั้นจากธนาคารโดยไม่มีหลักประกันเงินกู้แบบหมุนเวียน (Revolving Credit)

  • เป็นข้อตกลงระหว่างธนาคารกับลูกค้าอย่างเป็นทางการ
  • ผู้กู้สามารถกู้เงินจากธนาคารจนครบวงเงินที่ตกลงไว้
  • ธนาคารคิดค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ (Commitment Fee)
 ต้นทุนการกู้ยืม (Cost of Borrowing)อัตราดอกเบี้ย (Interest Rates)

  • คิดจากความน่าเชื่อถือของผู้กู้ และจำนวนเงินขอกู้

    • Collect Basis             - จ่ายดอกเบี้ยเมื่อถึงวันครบกำหนด
    • Discount Basis           - หักดอกเบี้ยออกจากเงินต้นทันที
  • เช่น กู้เงิน 10,000 บาท ต้องจ่ายดอกเบี้ย 1,000 บาท ระยะเวลา 1 ปี หาอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Rate)
 ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accruals)

  • ถือเป็นแหล่งเงินทุนอัตโนมัติ
  • ค่าแรงค้างจ่าย ค่าภาษีค้างจ่าย
  • ค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแล้ว แต่กิจการยังไม่ได้จ่ายเงินสดออกไป
แหล่งเงินทุนระยะสั้น 1. เครดิตการค้า ( Trade Credit )
2. ตราสารพาณิชย์ ( Commercial Paper )
3. เงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ ( Short Term Loans)
เครดิตการค้า มี 3 รูปแบบคือ

 1. บัญชีเงินเชื่อ ( Open Account ) หมายถึง ผู้ขายสินค้าส่งสินค้าให้กับผู้ซื้อพร้อมทั้งใบแจ้งหนี้ ซึ่งแสดงรายการต่าง ๆ
 เกี่ยวกับราคาสินค้า จำนวนสินค้า ยอดเงินที่ต้องชำระโดยผู้ซื้อไม่ต้องเซ็นหลักฐานใดๆที่แสดงความเป็นหนี้อย่างเ
ป็นทางการ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ขายจะมีการตรวจสอบฐานะทางการเงินของผู้ซื้อก่อน

2. ตั๋วเงินจ่าย ( Note Payable ) ในกรณีนี้ผู้ขายจะขอให้ผู้ซื้อลงนามในตั๋วสัญญาใช้เงิน เพื่อรับรองสภาพการเป็นหนี้
 ตั๋วสัญญาใช้เงินนี้จะระบุวันที่ที่ผู้ซื้อจะต้องชำระเงินไว้อย่างชัดเจน

3. ตั๋วแลกเงิน ( Trade Acceptance ) เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อต้องเซ็นรับรองการเป็นหนี้ไว้เป็นหลักฐาน ผู้ขายจะออกดราฟท์ใ
ห้ผู้ซื้อเซ็นรับรองว่าจะชำระหนี้ภายในกำหนด และเมื่อถึงกำหนดจะให้นำ ดราฟท์นั้นไปขึ้นเงินที่ธนาคารใด เมื่อผู้ซื้อเ
ซ็นแล้วดราฟท์ก็จะกลายเป็นตั๋วแลกเงิน และตั๋วแลกเงินนี้สามารถนำไปขายลดในท้องตลาดเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันทีการชำระเงินค่าสินค้าตามเครดิตการค้า  มี 2 ลักษณะ  ดังนี้

1. การชำระเงินค่าสินค้าในวันครบกำหนดการค้า (Payment on the Final Due Date) กรณีเงื่อนไขไม่มีส่วนลดเงินสด 
ธุรกิจจะชำระเงินค่าสินค้าในวันครบกำหนดชำระแต่ถ้าเงื่อนไขการขายมีส่วนลดเงินสด  ผู้ซื้ออาจชำระเงินภายใน
กำหนดเวลาที่ให้ส่วนลดเงินสดโดยได้รับส่วนสดหรืออาจชำระเงินในวันครบกำหนดโดยไม่รับส่วนลดเงินสดก็ได้

2. การยืดระยะเวลาชำระหนี้  (Streching Accounts Payable/ Leaning on the Trade) เป็นการ  ยืดระยะเวลาชำระหนี้
หลังจากวันครบกำหนดชำระตามเงื่อนไขการขาย การกระทำเช่นนี้ธุรกิจจะต้องเสียต้นทุนค่าเสียโอกาสจากการ
ไม่รับส่วนลดเงินสด ค่าธรรมเนียมหรือดอกเบี้ยเนื่องจากการชำระหนี้ช้ากว่ากำหนดชำระตามเงื่อนไขการขาย และที่สำคัญก็คืออาจทำให้เสียเครดิตในวงการค้า 
ข้อดีของเครดิตการค้า
1. เป็นแหล่งเงินทุนที่มีอยู่ทั่วไปและหาได้ง่าย
2. ไม่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายใด ๆ
3. การขอเครดิตการค้าไม่ต้องทำเป็นทางการ
4. เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่มีเครดิตพอที่จะหาเงินจากแหล่งอื่น
5. มีความยืดหยุ่นสูง เช่นอาจจะเลื่อนเวลาการชำระเงินได้
 ตราสารพาณิชย์ (Commercial  Paper)

ตราสารพาณิชย์ คือ ตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีอายุสั้นประมาณ 3 วัน - 9เดือน ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ออกโดยบริษัท
ที่มีชื่อเสียง มีฐานะทางการเงินน่าเชื่อถือ และสัญญาว่าจะจ่ายเงินแก่ผู้ถือตั๋ว ตลาดตราสารพาณิชย์ แบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ

1.       ตลาดตราสารพาณิชย์ที่ขายผ่านผู้ค้าหลักทรัพย์ ( Dealer Market ) ซึ่งผู้ค้าหลักทรัพย์จะคิดค่านายหน้าจากผู้ออกตราสาร                   
        2.        ตลาดตราสารพาณิชย์ที่ขายโดยผู้ออกโดยตรง ( Direct Placement Market ) วิธีนี้ผู้ออกตราสารจะขายให้นักลงทุนโดยตรง
ผู้ซื้อตราสารอาจจะเป็นธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงิน หรือบริษัททั่วไป โดยซื้อไว้เพื่อเก็งกำไร หารายได้
  ข้อดีและข้อเสียของตราสารพาณิชย์
ข้อดี
1. อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้น
2. ไม่ถูกจำกัดโดยกฎหมายเหมือนการกู้ยืมเงินจากธนาคาร
3. ไม่ต้องมีหลักประกัน
ข้อเสีย
1. ผู้ซื้อตราสารมีเงินทุนจำกัดในบางช่วง ทำให้การขายตราสารไม่เป็นตามที่คาดไว้
2. ผู้ออกตราสารพาณิชย์ที่มีปัญหาทางการเงิน จะขาดความน่าเชื่อถือทำให้ขายตราสารได้ยาก
เงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ (Unsecured short-termloand) แบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้

1.  เงินกู้ชนิดไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ( Unsecured Loans ) คือ เงินกู้ประเภทที่สามารถชำระหนี้คืนในตัวมันเอง
( Self - liquidating ) ซึ่งหมายความว่าสินทรัพย์ที่จัดหามาโดยการใช้เงินกู้ยืมนี้ รายได้ที่ได้กลับมาเปลี่ยนเป็นเงินสด
ไหลเข้ามาพอเพียงที่จะชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวภายใน 1 ปี

2.  เงินกู้ชนิดมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ( Secured Loans ) กรณีที่ธนาคารเห็นว่าผู้กู้มีความสามารถในการจ่ายเงินคืน
ไม่เพียงพอ จึงกำหนดให้มีหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อลดความเสี่ยงภัยทางการเงิน ซึ่งพิจารณาจาก
1. กระแสเงินสดที่เกิดขึ้นจากความสามารถในการดำเนินงานของธุรกิจ
2. เงินที่ได้จากการขายหลักทรัพย์ที่ค้ำประกัน
  ประโยชน์ของการใช้แหล่งเงินทุนระยะสั้น
1. ต้นทุนต่ำกว่า เพราะกิจการจะชำระดอกเบี้ยของทุนเฉพาะช่วงที่นำมาใช้เท่านั้น
2. เกิดความสัมพันธ์กับธนาคารอย่าใกล้ชิด กู้ยืมเฉพาะเวลาที่ต้องการและชำระคืนทันทีเมื่อหมดความต้องการแหล่งเงินทุนระยะยาว (Long-Term Financing)

เงินทุนระยะยาว หมายถึง  เงินทุนที่ธุรกิจจัดหามาเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการที่มีระยะเวลามากกว่า 1 ปี 
โดยทั่วไปธุรกิจจัดหาเงินทุนระยะยาวเพื่อนำไปลงทุนในสินทรัพย์ถาวร  แหล่งที่มาของเงินทุนระยะยาว
จากแหล่งเงินทุนภายในและเงินทุนระยะยาวจากแหล่งเงินทุนภายนอก  เงินทุนระยะยาวจากแหล่งเงินทุน
ภายในเป็นเงินทุนที่ได้จากการดำเนินงาน  ได้แก่กำไรสะสม  เงินทุนระยะยาวจากแหล่งเงินทุนภายนอก
จัดหาได้หลายลักษณะ  เช่น  การกู้ยืมเงินทุนระยะยาวจากสถาบันการเงิน  การออกหุ้นกู้  หุ้นบุริมสิทธ์และ
หุ้นสามัญ  เป็นต้น แหล่งเงินทุนระยะยาวการจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนโดยมีระยะเวลากู้ยืมมากกว่า 1 ปี

  • การจัดหาแหล่งเงินทุนจากแหล่งเงินทุนภายใน

    •  เงินลงทุนส่วนตัว
    • กำไรสะสมของกิจการ (retain profit)
  • การจัดหาแหล่งเงินทุนจากแหล่งเงินทุนภายนอก

    • การกู้ยืมเงินระยะยาวจากสถาบันการเงินหรือบุคคลทั่วไป
    • การออกหลักทรัพย์ชนิดต่าง ๆ แก่บุคคลหรือสถาบันการเงิน ได้แก่ การขายหุ้นให้มหาชน
    • การออกหุ้นกู้, ฯลฯ
พันธบัตร หรือ หุ้นกู้   “สัญญา (ตราสาร) ที่แสดงการกู้ยืมเงิน ระหว่างผู้กู้ (บริษัทผู้ออกตราสารหนี้) กับผู้ให้กู้ (ผู้ลงทุน/ ถือตราสารหนี้) โดยในสัญญาระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการกู้ยืมนั้น”                
 
หุ้นสามัญ


  • เป็นการจัดหาเงินทุนจากส่วนของทุน (Equity)
  • โดยการออกจำหน่ายหุ้นสามัญ
  • ผู้ถือหุ้นสามัญมีสถานะเป็นเจ้าของบริษัทและมีสิทธิตามกฎหมายดังต่อไปนี้

    • การควบคุมบริษัท
    • สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญได้ก่อน
หุ้นบุริมสิทธ์


  • เป็นการจัดหาเงินทุนจากส่วนของทุน (Equity)
  • แต่มีลักษณะเป็นหลักทรัพย์ผสมกึ่งหนี้สินและกึ่งหุ้นสามัญ
  • ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์ คือ เงินปันผล (แต่จะระบุไว้คงที่ เช่นเดียวกับดอกเบี้ยของหุ้นกู้หรือพันธบัตร)
  • ปกติจะอยู่กำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ของราคา Par
 ประโยชน์ของการใช้แหล่งเงินทุนระยะยาว                                
1. ลดความเสี่ยง                                  2. ให้ความมั่นคง                                
3. เพิ่มสภาพคล่อง 
คำถาม
1. โครงสร้างทางการเงิร หมายถึง
2.โครงสร้างของเงินทุน หมายถึง
3.ตลาดการเงินที่ไม่เป็นทางการหรือตลาด OTC หมายถึง



วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

Gold Futures

บทความโดย นางสางสิริรัตน์ อนุตธโต  5101103106
   
Gold Futures (โกลด์ฟิวเจอร์ส) หรือ สัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้าเป็นเครื่องมือที่ผู้ลงทุนสามารถใช้ทำกำไรได้ตามความคาดการณ์ที่มีต่อราคาทองคำได้ทั้งในภาวะราคาทองขาขึ้นและราคาทองขาลง ด้วยคุณลักษณะเด่นที่สามารถซื้อก่อนขายหรือขายก่อนซื้อก็ได้ และใช้เงินลงทุนน้อยประกอบกับราคาทองคำมีการเคลื่อนไหวที่ไม่สัมพันธ์กับราคาหุ้น โกลด์ฟิวเจอร์สจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการทำกำไรและกระจายความเสี่ยงของพอร์ตลงทุน ผู้ลงทุนสามารถ ซื้อขายโกลด์ฟิวเจอร์สได้ง่าย สะดวก ผ่านระบบซื้อขายอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดอนุพันธ์ (TFEX ) โดยมีบริษัท สำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด (TCH) เป็นผู้ประกันการชำระราคาจากการซื้อขาย และมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินงานของตลาดอนุพันธ์และบริษัทสมาชิก ผู้ลงทุนจึงมั่นใจได้ว่าในทุก ๆ การซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ มีความโปร่งใสและเชื่อถือได้

กำไรสองทาง ทั้งทองขึ้น ทองลง
โกลด์ฟิวเจอร์สช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้กับผู้ลงทุน ทําให้สามารถซื้อขายทำกำไรได้ทั้งในภาวะราคาทองขาขึ้น และราคาทองขาลง โดยใน
การซื้อขายโกลด์ฟิวเจอร์สจะไม่มีการส่งมอบทองคำจริงระหว่างคู่สัญญา แต่ใช้วิธีจ่ายชำระเงินตามส่วนต่างกำไรขาดทุนที่เกิดขึ้น เรียกว่า “การชำระราคาเป็นเงินสด” (Cash settlement) ผู้ลงทุนสามารถ “ซื้อก่อนขาย” หรือ “ขายก่อนซื้อ” ก็ได้ โดยกำไรขาดทุนที่เกิดขึ้นจะเท่ากับส่วนต่างระหว่างราคาขายและราคาที่ซื้อเอาไว้ เช่น หากผู้ลงทุนคาดว่าราคาทองคำจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ก็สามารถซื้อโกลด์ฟิวเจอร์สไว้ก่อน และเมื่อราคาทองคำปรับตัวขึ้น ก็สามารถขาย
โกลด์ฟิวเจอร์สในภายหลัง ทำให้ได้กำไรเท่ากับส่วนต่างของราคาซื้อและขาย หรือในกรณีที่ผู้ลงทุนคาดว่าราคาทองจะปรับตัวลดลง ก็สามารถสั่งขาย
โกลด์ฟิวเจอร์สได้เลย แม้ว่าไม่เคยซื้อ โกลด์ฟิวเจอร์สมาก่อน และเมื่อราคาทองปรับตัวลดลง ก็ค่อยซื้อโกลด์ฟิวเจอร์สในภายหลัง ทำให้ได้กำไรตามส่วนต่างของราคาขายและราคาซื้อ

ทุกภาวะตลาด ทุกความคาดการณ์ คือ โอกาสทำกำไร
การซื้อขายโกลด์ฟิวเจอร์ส คือ การซื้อขายทองคำล่วงหน้า ราคาของโกลด์ฟิวเจอร์สจึงเป็นราคาทองที่ผู้ลงทุนคาดการณ์ในอนาคต จึงอาจจะแตกต่างจาก ราคาทองที่มีการซื้อขายและส่งมอบกันในปัจจุบัน (Gold Spot Price) ความคาดการณ์ราคาทองที่แตกต่างกันนี้ คือ โอกาสในการซื้อขายเพื่อทำกำไรจาก
โกลด์ฟิวเจอร์ส เช่น ในภาวะทองราคาขึ้น ราคาทองในปัจจุบันอาจอยู่ที่ 15,000 บาท แต่ราคาโกลด์ฟิวเจอร์สที่ครบกำหนดในอีก 6 เดือนข้างหน้า อาจซื้อขายอยู่ที่ 15,500 บาท สำหรับผู้ลงทุนที่ซื้อโกลด์ฟิวเจอร์สไว้ ก็คือ ผู้ที่คาดว่าราคาทองคำในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะสูงกว่า 15,500 บาท จึงซื้อโกลด์ฟิวเจอร์สโดยหวัง
ส่วนต่างราคาในกรณีที่ทองคำปรับตัวสูงขึ้น สำหรับผู้ขายโกลด์ฟิวเจอร์ส ก็คือ ผู้ที่คาดว่าราคาทองคำจะปรับตัวขึ้นไม่ถึง 15,500 บาท ในอีก 6 เดือนข้างหน้าและรอซื้อกลับเมื่อราคาถูกลง ราคาซื้อขายโกลด์ฟิวเจอร์สจะปรับเปลี่ยนเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนซื้อขายทำกำไรได้ตามความคาดการณ์

กำไรเหนือกว่า ด้วยต้นทุนต่ำกว่า
การซื้อขายโกลด์ฟิวเจอร์สต่างจากการซื้อขายหุ้น และซื้อขายทองคำ ตรงที่โกลด์ฟิวเจอร์สเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้ลงทุนจึงไม่จำเป็นต้องจ่ายเงิน
ทั้งจำนวน ผู้ลงทุนแค่เพียงวางเงินส่วนหนึ่งซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1 ใน 10 ของมูลค่าสัญญาทั้งจำนวน ไว้กับโบรกเกอร์อนุพันธ์ก่อนส่งคำสั่งซื้อขายเพื่อเป็นเงินมัดจำ เรียกว่า เงินหลักประกันขั้นต้น (Initial Margin) ซึ่งการซื้อขายที่ใช้เงินลงทุนน้อยนี้ ทำให้ผู้ลงทุนมีโอกาสได้อัตราผลตอบแทนสูงเมื่อเทียบกับเงินทุน เช่น ผู้ลงทุนคาดว่าราคาทองคำจะปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 5% จึงลงทุนซื้อทองคำน้ำหนัก 50 บาท ที่ราคาบาทละ 14,000 บาท เพื่อเก็งกำไร โดยต้องใช้เงินทุนซื้อ ทองทั้งหมดรวม 700,000 บาท แต่หากผู้ลงทุนซื้อโกลด์ฟิวเจอร์ส จะใช้เงินทุนเพื่อวางเป็นหลักประกันขั้นต้นประมาณ 50,000 บาท (โบรกเกอร์จะเป็นผู้กำหนด) ซึ่งหากราคาทองคำสูงขึ้นจริง ผู้ลงทุนที่ซื้อโกลด์ฟิวเจอร์สก็มีโอกาสได้รับ อัตราผลกำไรสูงกว่าการซื้อทองคำ
       ในกรณีราคาทองขาลง ผู้ลงทุนที่ต้องการเก็งกำไรจากทองคำและมีทองคำอยู่ในมืออยู่แล้ว ก็สามารถเร่งขายทองคำในช่วงที่ราคาทองยังสูง และค่อยซื้อทองคำกลับคืนหลังจากราคาทองปรับตัวลดลง แต่สำหรับ ผู้ที่ไม่มีทองคำอยู่ในมือก็จะไม่สามารถใช้วิธีนี้สร้างทำกำไรได้ โกลด์ฟิวเจอร์สช่วยเพิ่ม โอกาสทำกำไรโดยใช้ต้นทุนต่ำได้ เนื่องจากผู้ลงทุนสามารถวางเงินแค่หลักประกันขั้นต้น ก็สามารถทำการขายโกลด์ฟิวเจอร์สก่อน เพื่อทำกำไรในตลาดขาลง
เพิ่มทางเลือก กระจายการลงทุน
ราคาซื้อขายโกลด์ฟิวเจอร์ส มาจากความคาดการณ์ราคาทองคำในอนาคตของผู้ลงทุน แม้ว่าจะไม่ใช่ราคาเดียวกับราคาทองคำที่ซื้อขายและส่งมอบ
ในปัจจุบัน แต่ก็มีการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน โดยผลจากการศึกษาทางสถิติ (ข้อมูลในช่วง ก.พ. 2541 – มิ.ย. 2550) พบว่า ราคาทองคำมีทิศทาง
การเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกับหลักทรัพย์ชนิดอื่น ๆ โดยเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนพบว่าทองคำมีค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) ติดลบสูงสุดเท่ากับ -0.24 และเมื่อเทียบกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index ) ทองคำมีค่าสหสัมพันธ์ติดลบเท่ากับ -0.09 โกลด์ฟิวเจอร์ส
จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการกระจายการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีพอร์ตการลงทุนในหุ้นอยู่ นอกจากนี้ ราคาทองคำยังมักเคลื่อนไหวในทิศทาง
เดียวกับดัชนีราคาผู้บริโภคและราคาน้ำมัน การซื้อขายโกลด์ฟิวเจอร์ส จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใน การกระจายการลงทุนที่เรียกว่า การลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง จากภาวะเงินเฟ้อได้ (Inflation Hedge)

ซื้อขายง่าย สภาพคล่องสูง ราคาโปร่งใส
การซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนสามารถซื้อขายโกลด์ฟิวเจอร์สตามความคาดการณ์ได้ตลอดเวลาทำการของ TFEX เพียงแค่ โทรศัพท์สั่งซื้อขายผ่านโบรกเกอร์อนุพันธ์ที่มีสาขารวมกว่า 1,000 แห่งทั่วประเทศ หรืออาจใช้วิธีส่งคำสั่งซื้อขายด้วยตนเองผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่
โบรกเกอร์อนุพันธ์ให้บริการ จากนั้นโบรกเกอร์อนุพันธ์จะเป็นตัวแทนส่งคำสั่งซื้อขายของผู้ลงทุนเข้ามาในระบบการซื้อขายอิเล็กทรอนิกส์ของ TFEX เพื่อรอ
จับคู่คำสั่งกับ ผู้ลงทุนอีกฝั่งหนึ่ง ดังนั้น การเดินทางจึงไม่ใช่อุปสรรคของการซื้อขายอีกต่อไป ผู้ลงทุนจึงสามารถซื้อขายโกลด์ฟิวเจอร์สได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว
นอกจากนี้ การซื้อขายใน TFEX ยังมีสภาพคล่องสูง ผู้ลงทุนสามารถติดตามการเคลื่อนไหวของราคาโกลด์ฟิวเจอร์สได้ตลอดเวลาจากหลากหลายช่องทาง ทั้งทางเว็บไซต์ โทรทัศน์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ และช่องทางอื่น ๆ ที่บริษัทสมาชิกเปิดให้บริการ ทำผู้ลงทุนให้มีโอกาสในการทำกำไรได้บ่อยครั้งตามที่ต้องการ
 

เชื่อถือได้ ทุกครั้งที่ซื้อขาย
บริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TFEX เป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการภายใต้
พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 เพื่อทำหน้าที่จัดให้มีการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุน และ
ดูแลการซื้อขายให้ถูกต้อง โปร่งใส และยุติธรรม นอกจากนี้ ทุกๆ การซื้อขายใน TFEX จะมี บริษัท สำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด (TCH) ทำหน้าที่รับประกันการจ่ายชำระเงินระหว่างคู่สัญญา หากคู่สัญญาฝ่ายที่ขาดทุนบิดพลิ้ว ไม่ยอมจ่ายชำระเงินให้ฝ่ายที่ได้กำไร สำนักหักบัญชีก็จะค้ำประกันการจ่าย
ชำระเงินนั้นให้ก่อน ผู้ลงทุนจึงมั่นใจได้ว่าหากได้กำไรจากการซื้อขายก็จะได้รับเงินส่วนกำไรนั้นอย่างแน่นอน
สำหรับการกำกับดูแลนั้น คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นหน่วยงานสำคัญที่คอยดูแลการดำเนินงานของ TFEX และโบรกเกอร์อนุพันธ์เพื่อให้การซื้อขายโปร่งใสและเชื่อถือได้ ผู้ลงทุนจึงมั่นใจได้ว่าจะสามารถซื้อขายในราคาที่เป็นธรรม
ปรับยอดเงินทุกวัน กลไกสำคัญในการช่วยติดตามสถานะการซื้อขาย
ผู้ลงทุนที่มีสถานะซื้อหรือสถานะขายโกลด์ฟิวเจอร์สอยู่ จะได้รับปรับยอดเงินในบัญชีหลักประกันให้ทุกสิ้นวัน แม้ว่าจะยังถือสัญญาไว้ก็ตาม โดยใน
การซื้อขายโกลด์ฟิวเจอร์ส ผู้ลงทุนจะต้องวางเงินหลักประกันขั้นต้น ( Initial Margin) ไว้กับโบรกเกอร์อนุพันธ์ก่อนส่งคำสั่งซื้อขาย และเมื่อซื้อหรือขาย
โกลด์ฟิวเจอร์ส ไปแล้ว ทุกสิ้นวันโบรกเกอร์จะปรับยอดเงินในบัญชีของผู้ลงทุน โดยจะคำนวณว่าในวันนั้น ๆ ผู้ลงทุนได้กำไรหรือขาดทุนเท่าไร และจะนำยอดกำไรขาดทุนที่เกิดขึ้น มารวมกับเงินในบัญชีของผู้ลงทุน เช่น หากผู้ลงทุนได้กำไร ก็จะได้รับโอนเงินส่วนกำไรจากคู่สัญญาฝ่ายที่ขาดทุนเข้ามารวมในบัญชีหลักประกัน โดยในทางกลับกัน หากผู้ลงทุนขาดทุน ก็จะถูกโอนเงินส่วนขาดทุนออกจากบัญชีหลักประกันไปให้คู่สัญญาฝ่ายที่ได้กำไรเช่นกัน
ในกรณีที่ผู้ลงทุนขาดทุนจนทำให้เงินในบัญชีที่วางไว้ลดลงจนต่ำกว่าระดับหลักประกันที่โบรกเกอร์กำหนด หรือที่เรียกว่า หลักประกันรักษาสภาพ
(Maintenance Margin) โบรกเกอร์ก็จะเรียกให้ผู้ลงทุนนำเงินมาวางเพิ่มเติม (Margin Call) ให้ระดับเงินในบัญชีกลับไปอยู่ที่ระดับหลักประกันขั้นต้น
อีกครั้งหนึ่ง การคำนวณกำไรขาดทุนทุกสิ้นวันนี้ เรียกว่า Mark to Market ซึ่งเป็น กลไกสำคัญที่ช่วยผู้ลงทุนในการติดตามสถานะ การซื้อขายของตน หากเกิดภาวะขาดทุน ก็สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การซื้อขายได้อย่างทันท่วงที


คำถาม

1.Gold Futures (โกลด์ฟิวเจอร์ส) คืออะไร

2.Gold Futures (โกลด์ฟิวเจอร์ส) สามารถทำกำไรได้กี่ทาง ทางใดบ้าง

3.หน่วยงานใดเป็นผู้ดูแลกำกับ Gold Futures (โกลด์ฟิวเจอร์ส)

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

SET50 Index Futures

บทความโดย นางสาวสิริรัตน์  อนุตธโต   5101103106  
SET50 Index Futures
     เริ่มซื้อขายเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2549 ในตลาดอนุพันธ์ฯ (TFEX) เป็นสินค้าตัวแรก โดย SET50 Index Futures อ้างอิงกับดัชนี SET50 ซึ่งคำนวณมาจากหุ้นสามัญจดทะเบียนที่มีขนาดใหญ่ มีสภาพคล่องสม่ำเสมอจำนวน 50 ตัวแรก

    สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures) เป็นสัญญาที่ถูกจัดทำขึ้นระหว่างคู่สัญญา 2 ฝ่าย ที่ตกลงกันในวันนี้ เพื่อที่จะทำการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าหรือตราสารทางการเงินในอนาคต โดยที่มูลค่าของสัญญานั้น จะมีมูลค่าขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินค้าหรือตราสารทางการเงินที่เปลี่ยนแปลง
    สิ่งที่สำคัญสำหรับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า คือ การลงทุนหรือเก็งกำไรในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จะมีผลของการลงทุนเป็นแบบ Zero Sum Game คือ เป็นการที่ทั้งฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขายสัญญานั้นจะมีกำไรและขาดทุนรวมกันเป็น ศูนย์ เพราะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ได้รับผลกำไร อีกฝ่ายก็จะขาดทุนในจำนวนที่เท่ากับฝ่ายผู้ได้รับกำไรได้รับ
สิ่งที่สำคัญสำหรับการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นคือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะต้องมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้ ผู้ขาย (Seller) เป็นผู้ที่จัดทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขึ้มาขายให้แก่ผู้ซื้อ (Buyer) โดยสัญญานั้นจะเป็นการตกลงกันเพื่อซื้อหรือขายสินค้าอ้างอิง (Underlying Asset) ตามจำนวน (Quantity) ระยะเวลาที่ตกลงกันว่าจะทำการซื้อหรือขายสินค้า (Maturity or Delivery Date) และราคา (Futures Price)
การตกลงซื้อหรือขายล่วงหน้านั้น ผู้ซื้อและผู้ขายจะมีภาระผูกพันที่ต้องซื้อขายตามที่ตกลงกัน กำไรหรือขาดทุนของผู้ซื้อและผู้ขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นขึ้นอยู่กับราคาของสินทรัพย์อ้างอิงที่เปลี่ยนแปลงไป โดยผู้ซื้อจะได้กำไรเมื่อราคาของสินทรัพย์อ้างอิงนั้นเพิ่มขึ้น และผู้ขายจะได้กำไรเมื่อราคาของสินทรัพย์อ้างอิงนั้นลดลง
ลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า คือ สัญญาไม่จำเป็นต้องรอจนครบกำหนดอายุของสัญญาจึงสามารถทำการซื้อขายได้ แต่สามารถกระทำการสิ้นสุดสัญญาได้ทุกเมื่อ เมื่อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าออกไป
      SET50 Index Futures เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับดัชนี SET 50 โดยมีการตกลงกันว่า จะซื้อหรือขาย SET 50 Index ณ ราคาหนึ่งในอนาคต แต่ SET50 Index เป็นดัชนี ผู้ซื้อและผู้ขายจึงไม่สามาถส่งมอบสินทรัพย์เช่นเดียวกับการซื้อหรือขายสินทรัพย์หรือตราสารทางการเงินอื่น ๆ ดังนั้นการส่งมอบสินทรัพย์ตามสัญญาแบบนี้จึงเป็นเพียงการคำนวณกำไรหรือขาดทุน และชดใช้กันเป็นเงินสดแทนเท่านั้น
ผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์สามารถใช้ SET50 Index Futures เพื่อการป้องกันความเสี่ยงในการลงทุนได้ คือ เมื่อผู้ลงทุนได้ทำการลงทุนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โดยมีหุ้นสามัญถือครอบครองไว้จำนวนหนึ่ง แต่กลัวว่าราคาหุ้นจะปรับลดลงในอนาคต จะทำให้เกิดการขาดทุนจากการลงทุน ผู้ลงทุนจึงสามารถขาย SET50 Index Futures ออกไปเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง เพราะเมื่อราคาหุ้นสามัญในตลาดลดลง จะทำให้ผู้ลงทุนเกิดการขาดทุน แต่ผู้ลงทุนก็จะได้รับผลกำไรจากการลงทุนใน SET50 Index Futures ชดเชยการขาดทุนดังกล่าว
     ในทางกลับกันหากผู้ลงทุนคาดว่าดัชนี SET50 จะมีมูลค่ามากขึ้น ผู้ลงุทนจะทำการซื้อ SET50 Index Futures และหากการลงทุนดังกล่าวเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ผู้ลงทุนก็จะได้รับผลกำไรจากการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทนี้ ดังนั้นการซื้อ SET50 Index Futures จึงเป็นการลงทุนเพื่อการป้องกันการเพิ่มขึ้นของราคาหลักทรัพย์ เพราะผุ้ลงทุนอาจต้องการที่จะซื้อหุ้นสามัญในอนาคต แต่กลัวว่าราคาจะเปลี่ยนแปลงไป จะทำการซื้อ SET50 Index Futures เพื่อการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว
การที่ผู้ลงทุนจะต้องการทำการป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์โดยใช้ SET50 Index Futures นั้น ผู้ลงทุนทุกคนควรที่จะต้องทำการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของ SET50 Index Futures ก่อนว่ามีคุณลักษณะเช่นใด
SET50 Index Futures นั้นเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับดัชนี SET50 โดยสัญญาจะมีการตกลงกันว่า จะซื้อหรือขาย SET50 Index ณ ราคาหนึ่งในอนาคต โดยที่ผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์นั้นสามารถเลือกลงทุนใน SET50 Index Futures เพิ่มเติม เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ในตลาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะหากราคาหลักทรัพย์ที่ผู้ลงทุนเลือกลงทุนอยู่นั้นเกิดราคาลดลง ผู้ลงทุนที่ลงทุนเพิ่มเติมใน SET50 Index Futures นั้นจะได้รับผลกำไรชดเชยจากการลงทุนเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นการทดแทน หรือที่เราสามารถเรียกได้ว่าเป็นการป้องกันความเสี่ยงนั่นเอง
     สาเหตุที่ตลาดอนุพันธ์ได้เลือกนำเอา SET50 Index มาเป็นเครื่องมือในการซื้อขายล่วงหน้าเพราะ SET50 Index นั้นเป็นดัชนีที่มีลักษณะคล้ายกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) แต่เป็นการคัดเลือกหลักทรัพย์จำนวน 50 บริษัทมาทำการคำนวณหาค่าดัชนีแทน โดยการที่จะได้มาซึ่งดัชนีนั้นจะต้องทำการคัดเลือกจากหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 200 ลำดับแรกที่มีการซื้อขายจำนวนสูงสุดเฉลี่ยต่อวันย้อนหลัง 12 เดือน และไม่ได้อยู่ระหว่างการสั่งการพักซื้อขาย (SP) นานเกินกว่า 7 วัน และหลักทรัพย์ดังกล่าวจะต้องจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน โดยจะทำการพิจารณาคัดเลือกหลักทรัพย์ที่จะนำมาคำนวณเป็นค่าดัชนีดังกล่าวทุก ๆ 6 เดือน (ปีละ 2 ครั้ง)ดังนั้น SET50 Index จึงเป็นค่าดัชนีที่ถือได้ว่าเป็นตัวแทนที่ดีสำหรับการลงทุนทั้งตลาด เพราะถ้าหากตลาดหลักทรัพย์อยู่ในภาวะที่ไม่ดี ค่าของดัชนีนี้ก็จะมีค่าลดลง และในทางกลับกัน ถ้าตลาดหลักทรัพย์อยู่ในภาวะที่ดี ค่าของดัชนีนี้ก็จะมีค่าสูงขึ้นเช่นกันดังนั้นถ้าผู้ลงทุนได้ทำการลงทุนอยู่ซื้อหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์ แต่คาดการณ์ว่าราคาหุ้นสามัญนั้นอาจจะมีราคาลดลงในอนาคต ผู้ลงทุนจึงสามารถขาย SET50 Index Futures ออกไปเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง เพราะเมื่อราคาหุ้นสามัญในตลาดลดลง ผู้ลงทุนจะเกิดการขาดทุน แต่ผู้ลงทุนก็จะได้รับผลกำไรจากการขาย SET50 Index Futures ชดเชยการขาดทุน (Short Position)

      ศัพท์เทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้การการกำหนดการซื้อขาย SET50 Index Futures
มีรายละเอียดดังนี้
ตัวคูณดัชนี (Multiplier) เป็นราคาที่ใช้ในการคำนวณเมื่อค่าดัชนี SET50 เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยได้กำหนดไว้ว่า SET50 Index 1 จุด มีค่าเท่ากับ 1,000 บาท ดังนั้น ถ้าผู้ลงทุนขาย SET50 Index Futures ที่ราคา 530 จุด ก็แสดงว่าสัญญาดังกล่าวนั้นจะมีมูลค่า 520 x 1,000 = 520,000 บาท
ช่วงห่างของราคาขั้นต่ำ (Tick Size) เป็นการกำหนดการเสนอราคาของดัชนี โดยการเสนอราคาซื้อหรือขายในแต่ละครั้งจะต้องเสนอในหน่ยทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง เช่น ซื้อ SET50 Index Futures ที่ 522.00 หรือ 522.10 หรือ 522.20 เป็นต้น แต่ไม่สามารถกำหนดถึงทศนิยมตำแหน่งที่สองได้ เช่น 520.01 หรือ 520.02
ช่วงของการเปลี่ยนแปลงสูงสุดในแต่ละวัน (Price Limit) เป็นการกำหนดราคาซื้อขาย Futures โดยจะสามารถเสนอซื้อขาย เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ไม่เกิน 30% ของราคาที่สำนักหักบัญชีประกาศไว้ในวันก่อนหน้าวันทำการปัจจุบัน เช่น ราคาของ SET50 Index Futures ที่สำนักหักบัญชีได้ประกาศใช้เมื่อวานนี้มีค่าเท่ากับ 500 จุด ดังนั้นการเคลืนอไหวของราคาในวันนี้จะเปลี่ยนแปลงได้สูงสุดไม่เกินกว่า 350 จุด ถึง 650 จุด (บวกและลบด้วย 30%)
Circuit Breaker เป็นการหยุดการซื้อหรือขายเมื่อตลาดหลักทรัพย์หยุดทำการซื้อขาย โดยจะมี Circuit Breaker ครั้งที่ 1 จะทำงานเมื่อราคาของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ลดลง 10% และตลาดหลักทรัพย์หยุดการซื้อขาย จะเปิดให้มีการซื้อขายเมื่อตลาดหลักทรัพย์เปิดทำการซื้อขายต่อไป สำหรับ Circuit Breaker ครั้งที่ 2 จะทำงานเมื่อตลาดหลักทรัพย์มีค่าดัชนีลดลง 20% และหยุดการซื้อขาย โดยจะเปิดให้มีการซื้อขายอีกครั้งเมื่อตลาดหลักทรัพย์เปิดให้มีการซื้อขายต่อไป และตลาดหลักทรัพย์จะให้ซื้อขายต่อไป แต่ราคาจะต้องไม่ต่ำกว่า 30%
นอกจากนี้การหยุดการซื้อขายของ SET50 Index Futures จะกระทำเมื่อตลาดหลักทรัพย์หยุดทุกครั้ง เช่น การหยุดทำการของตลาดหลักทรัพย์เมื่อเกิดเหตุการณ์ขัดข้องทางเทคนิคเป็นต้น
เดือนที่สัญญาสิ้นอายุ (Maturity) สัญญา SET50 Index Futures นั้นจะมีรอบการครบกำหนดชำระราคาคือ ทุกสิ้นเดือนมีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากลนิยม โดยปกติแล้วการครบกำหนดตามสัญญาของ Futures Contract ระบบไตรมาสโดยทั่วไปนั้นจะมีรอบกำหนดระยะเวลาใหญ่ ๆ 2 แบบ คือ แบบ January Quarterly Cycle ซึ่งจะมีระยะเวลาครบรอบกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดทุกเดือน มกราคม เมษายน กรกฎาคม และตุลาคม และแบบ March Quarterly Cycle คือครบกำหนดทุกสิ้นเดือน มีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม
Series Name ของ SET50 Index Futures นั้นเป็นการกำหนดตัวอักษรย่อ เพื่อให้เกิดความง่ายต่อการเข้าใจในการส่งคำสั่งซื้อหรือขายของนักลงทุน โดยจะมีการกำหนด Series Name เป็นสามส่วนคือ
      ส่วนที่ 1 จะระบุชนิดของสิ้นค้าที่จะทำการซื้อหรือขาย เช่น SET50 Index Futures จะถูกกำหนดเป็น S50 เป็นต้น
    สำหรับส่วนที่สองของ Series Name นั้นจะระบุถึงเดือนที่สัญญาจะครบกำหนดตามสัญญา ใช้ตัวอักษร 1 ตัวแทนชื่อเดือนต่าง ๆ โดยมีวิธีการกำหนดชื่อเดือนตามหลักสากล ดังนี้ เดือน มกราคม ใช้อักษรย่อ F กุมภาพันธ์ G มีนาคม H เมษายน J พฤษภาคม K มิถุนายน M กรกฎาคม N สิงหาคม Q กันยายน U ตุลาคม V พฤศจิกายน X ธันวาคม Z
สำหรับส่วนที่ 3 ของ Series Name เป็นการระบุถึงปีของการสิ้นสุดสัญญา เช่น 07 คือปี ค.ศ. 2007 เป็นต้น
ดังนั้นการกำหนด Series Name เช่น S50M07 แสดงให้เห็นว่าคำสั่งการซื้อหรือการขาย SET50 Index Futures ในครั้งนี้เป็นสัญญาของ เดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 2007 หรือ S50H08 ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นสัญญา SET50 Index Futures ของเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 2008 เป็นต้น
    วันซื้อขายวันสุดท้าย (Last Trading Day) คือ วันทำการของตลาดหลักทรัพย์ก่อนหน้าวันทำการวันสุดท้ายของเดือน เช่น เดือนมีนาคม 2549 วันทำการวันสุดท้ายของเดือนคือวันที่ 31 มีนาคม 2549 ดังนั้น Last Trading Day คือวันที่สามารถทำการซื้อขายวันสุดท้ายของเดือนได้ก็คือ วันที่ 30 มีนาคม 2549


คำถาม

1.สิ่งที่สำคัญสำหรับการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของ SET50 Index Futures คืออะไร

2.สาเหตุที่ตลาดอนุพันธ์ได้เลือกนำเอา SET50 Index มาเป็นเครื่องมือคืออะไร

3.Series Name ของ SET50 Index Futures หมายความว่าอย่างไร

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

ความเสี่ยงจากการลงทุน

จัดทำบทความโดย นาย นที สู่เสรีดำรง

          ความเสี่ยงจากการลงทุน (investment risk) คือ การเปลี่นแปลงที่เกิดขึ้นที่ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจริงเบี่ยงเบนไปจากอัตราผลตอบแทนที่ได้คาดหวังไว้


ประเภทของความเสี่ยง

          เราสามารถแบ่งความเสี่ยงออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความสามารถในทำกำไรของบริษัท อันเป็นเหตุให้ผู้ลงทุนต้องสูญเสียรายได้ หรือเงินลงทุน ประกอบด้วย ความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการ และความเสี่ยงในระดับอุตสาหกรรม
2. ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk) คือ การสูญเสียเงินลงทุนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ซึ่งเป็นไปตามอุปสงค์ และอุปทานของตลาด
3. ความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยในตลาด
4. ความเสี่ยงจากอำนาจซื้อ (Purchasing Power Risk) คือ ความเสี่ยงทีเกิดจากอำนาจซื้อของเงินที่ลดลง ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่ออำนาจซื้อ คือ ภาวะเงินเฟ้อ

ความเสี่ยงรวม

          ความเสี่ยง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ความเสี่ยงที่เป็นระบบ และความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ
1. ความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Systematic Risk) - เป็นความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อตลาดทั้งระบบ มักจะเรียกอีกชื่อว่า Market Risk หรือ Undiversificable Risk เป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถทำให้ลดลงได้จากการกระจายการลงทุน
2. ความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ (Unsystematic Risk) - เป็นความเสี่ยงที่เกิดเฉพาะตัวกับธุรกิจ หรือ หลักทรัพย์นั้น ๆ นักลงทุนสามารถลดความเสี่ยงนี้ลงได้ด้วยการจัดพอร์ตลงทุนของตนเองให้มีการกระจายการลงทุนที่เหมาะสม

การวัดความเสี่ยง

1. ค่าความแปรปรวน (Variance) หรือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) เป็นการวัดค่าความเสี่ยงว่าผลตอบแทนจากการลงทุนแตกต่างไปจากที่คาดการณ์ไว้มากน้อยเพียงใด โดยไม่ได้คำนึงว่าผลต่างนั้นเป็นไปในทางบวกหรือลบ
2. มูลค่าความเสี่ยง (Value-at-Risk) เป็นการวัดค่าความเสี่ยงโดยสนใจที่ผลขาดทุนสูงสุดภายใต้ระยะเวลาการลงทุนช่วงหนึ่ง


คำถาม
1.ความเสื่ยงแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

2.การวัดความเสี่ยงใช้ค่าอะไรวัด

3.มูลค่าความเสี่ยง เป็นการวัดค่าความเสียงอะไร

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

จุดคุ้มทุน ดัชนีชี้วัดความคุ้มค่าในการลงทุน

บทความโดย นาย ชิตณรงค์ สิทธิยานันท์   5101103140

จุดคุ้มทุนคือบรรทัดฐานที่แท้จริงในการวัดค่าความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจ ผู้ประกอบการจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาเรื่องนี้ให้ดีเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดในการทำธุรกิจ

หาจุดคุ้มทุนให้เจอก่อนเริ่มทำธุรกิจ
หัวใจสำคัญที่เป็นคำตอบและตัวชี้วัดว่าธุรกิจจะสามารถอยู่รอดได้หรือไม่นั้นต้องอาศัยจากการพิจารณาในเรื่องของจุดคุ้มทุนเป็นหลัก เพราะการคำนวนในเรื่องของจุดคุ้มทุนนั้นจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถคำนวนและวางแผนการขายสินค้าและทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ทั้งยอดขายและจำนวนตามที่ต้องการในเวลาที่กำหนดอย่างเหมาะสม ความรู้ในเรื่องของการหาจุดคุ้มทุนจึงเป็นหนึ่งในสิ่งแรกๆที่ผู้ประกอบการธุรกิจทุกคนควรจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจก่อนที่จะลงมือประกอบธุรกิจเสียด้วยซ้ำไป ซึ่งหลักการและรายละเอียดเกี่ยวกับการหาจุดคุ้มทุนทางธุรกิจมีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

จุดคุ้มทุนคืออะไร ?

จุดคุ้มทุน มีความหมายว่า ระดับของรายได้ที่ผู้ประกอบการได้จากการขายสินค้าหรือบริการในจุดที่ได้เท่ากันกับต้นทุนของธุรกิจที่ท่านจ่ายออกไปทั้งหมด ถ้าต่ำลงกว่านี้นั่นหมายถึงการขาดทุน แต่ถ้าเพิ่มสูงกว่าจุดคุ้มทุนนั่นแสดงว่าธุรกิจได้รับผลกำไรเป็นการตอบแทน
ตัวอย่างเช่น ผู้ประกอบการนำสินค้ามาขาย 1,000 ชิ้น โดยตั้งราคาขายไว้ที่ 100 บาท ถ้าขายหมดจะได้เงินเป็นจำนวน 100,000 บาท ซึ่งสมมติคร่าวๆว่าการคำนวนมีจุดคุ้มทุนอยู่ที่ 50% ดังนั้นขายของให้ได้เพียงแค่ 500 ชิ้น หรือให้ได้ยอดเพียงแค่ 50,000 บาท ก็สามารถอยู่ในจุดที่คุ้มทุนได้แล้ว ส่วนยอดที่เหลือถ้าขายได้ถือว่าเป็นกำไรสุทธิของผู้ประกอบการทั้งหมด ซึ่งจากหลักสมการพื้นฐานด้านบนทำให้เกิดตัวแปรที่น่าสนใจและผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องรู้เพื่อนำทั้ง 2 ส่วนมาหาค่าของจุดคุ้มทุนประกอบไปด้วย
ต้นทุนผันแปรกับต้นทุนคงที่ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ต้นทุนผันแปร

คือ ต้นทุนที่เกิดขึ้นโดยมียอดอัตราผันแปรไม่หยุดนิ่งและแน่นอนไปตามการผลิตหรือสั่งซื้อสินค้า พูดง่ายๆก็คือถ้าทำหรือสั่งสินค้าและบริการมากขึ้นต้นทุนประเภทนี้ก็จะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนยอดออเดอร์ไปด้วยเช่นกัน อาทิ กล่องใส่สินค้าและวัตถุดิบ เป็นต้น

ต้นทุนคงที่

คือ จะมีลักษณะที่ตรงกันข้ามกับต้นทุนผันแปรอย่างสิ้นเชิง เพราะไม่ว่าผู้ประกอบการจะสั่งหรือลดยอดการสั่งซื้อวัตถุดิบสินค้าต้นทุนประเภทนี้ก็ไม่ได้ลดหรือเพิ่มตามจำนวนยอดที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย นั่นหมายความว่ายังไงเสียต้นทุนประเภทนี้ก็คือยอดค่าใช้จ่ายที่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เช่น ค่าเช่าพื้นที่ขายสินค้า ค่าจ้างพนักงาน เป็นต้น

จุดคุ้มทุนทางธุรกิจมีวิธีการคิดอย่างไร

จุดคุ้มทุนทางธุรกิจมีวิธีการคำนวนมากมายหลายวิธีโดยมีองค์ประกอบหลักที่ต้องทราบอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 ส่วนก่อนที่จะเริ่มทำการคำนวน คือ ต้นทุนคงที่ ต้นทุนผันแปร และยอดในการขายสินค้าหรือบริการ ซึ่งในโอกาสนี้จะขอนำสมการสูตรการคิดจุดคุ้มทุนที่ง่ายที่สุดมานำเสนอโดยเป็นการหาค่าของจุดคุ้มทุนเปรียบเทียบออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ค่าเฉลี่ย มีหลักการดังต่อไปนี้
ต้นทุนคงที่ หารด้วย (รายได้ทั้งหมดจากการขายสินค้า ลบด้วย ต้นทุนผันแปร) = จุดคุ้มทุน
ตัวอย่างเช่น นาย สมชาย ขายสินค้าประเภทหนึ่งมีรายจ่ายต่อเดือนอยู่ที่ 100,000 บาท โดยมียอดขายทั้งหมดอยู่ 120,000 บาท ซึ่งธุรกิจของสมชายมีต้นทุนคงที่อยู่ที่ 40,000 บาท ต้นทุนผันแปรอยู่ที่ 60,000 บาท แต่ในขณะเดียวกันก็มีธุรกิจของสมหญิงที่เป็นคู่แข่งขายสินค้าและทำตลาดประเภทเดียวกันกับสมชายมีรายจ่ายต่อเดือน 100,000 บาท มียอดขายที่ 120,000 บาทเท่ากัน แต่มีความแตกต่างที่ธุรกิจของสมหญิงมีต้นทุนคงที่ถึง 60,000 บาท และมีต้นทุนผันแปรเพียงแค่ 40,000 บาท เท่านั้น เมื่อทำการแทนค่าเพื่อหาจุดคุ้มทุนจะได้ผลออกมาดังนี้
สมชาย 40,000 / (120,000-60,000) = 66.67%
สมหญิง 60,000 / (120,000-40,000) = 75%
จะเห็นได้ว่าสมชายมีประสิทธิภาพในการขายสินค้าที่ดีกว่าเพราะต้องขายสินค้าให้ได้จำนวนเต็มเพียงแค่ 66.67 % เท่านั้นก็สามารถคืนทุนทั้งหมดได้แล้ว ส่วนอีก 33.33 % ที่เหลือทั้งหมดถ้าขายได้ก็ถือเป็นกำไรทั้งหมด แตกต่างจากสมหญิงที่ต้องขายสินค้าให้ได้มากถึง 75 % หรือกว่า 3 เท่าตัวของจำนวนเต็มสินค้าที่รับมาทั้งหมดก่อนถึงจะได้กำไร
จึงถือว่ามีความแตกต่างกันมากผู้ประกอบการจึงต้องคำนวนและใช้ความรอบคอบให้มากในการลงทุนโดยต้องคำนึงถึงทุกตัวแปรในการทำธุรกิจด้วย จากข้อมูลที่นำเสนอไปผู้ประกอบการคงทราบแล้วว่าการหาจุดคุ้มทุนทางธุรกิจมีส่วนสำคัญต่อการทำธุรกิจมากขนาด จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนจะต้องเรียนรู้และทำการทดสอบหาจุดคุ้มทุนที่แท้จริงของตัวธุรกิจของท่านเองก่อนที่จะนำเงินมาลงทุนอย่างจริงจัง

คำถาม

1 จุดคุ้มทุน คือ
2 ต้นทุนคงที่ คือ
3 ต้นทุนผันแปล คือ