วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

จุดคุ้มทุน ดัชนีชี้วัดความคุ้มค่าในการลงทุน

บทความโดย นาย ชิตณรงค์ สิทธิยานันท์   5101103140

จุดคุ้มทุนคือบรรทัดฐานที่แท้จริงในการวัดค่าความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจ ผู้ประกอบการจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาเรื่องนี้ให้ดีเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดในการทำธุรกิจ

หาจุดคุ้มทุนให้เจอก่อนเริ่มทำธุรกิจ
หัวใจสำคัญที่เป็นคำตอบและตัวชี้วัดว่าธุรกิจจะสามารถอยู่รอดได้หรือไม่นั้นต้องอาศัยจากการพิจารณาในเรื่องของจุดคุ้มทุนเป็นหลัก เพราะการคำนวนในเรื่องของจุดคุ้มทุนนั้นจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถคำนวนและวางแผนการขายสินค้าและทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ทั้งยอดขายและจำนวนตามที่ต้องการในเวลาที่กำหนดอย่างเหมาะสม ความรู้ในเรื่องของการหาจุดคุ้มทุนจึงเป็นหนึ่งในสิ่งแรกๆที่ผู้ประกอบการธุรกิจทุกคนควรจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจก่อนที่จะลงมือประกอบธุรกิจเสียด้วยซ้ำไป ซึ่งหลักการและรายละเอียดเกี่ยวกับการหาจุดคุ้มทุนทางธุรกิจมีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

จุดคุ้มทุนคืออะไร ?

จุดคุ้มทุน มีความหมายว่า ระดับของรายได้ที่ผู้ประกอบการได้จากการขายสินค้าหรือบริการในจุดที่ได้เท่ากันกับต้นทุนของธุรกิจที่ท่านจ่ายออกไปทั้งหมด ถ้าต่ำลงกว่านี้นั่นหมายถึงการขาดทุน แต่ถ้าเพิ่มสูงกว่าจุดคุ้มทุนนั่นแสดงว่าธุรกิจได้รับผลกำไรเป็นการตอบแทน
ตัวอย่างเช่น ผู้ประกอบการนำสินค้ามาขาย 1,000 ชิ้น โดยตั้งราคาขายไว้ที่ 100 บาท ถ้าขายหมดจะได้เงินเป็นจำนวน 100,000 บาท ซึ่งสมมติคร่าวๆว่าการคำนวนมีจุดคุ้มทุนอยู่ที่ 50% ดังนั้นขายของให้ได้เพียงแค่ 500 ชิ้น หรือให้ได้ยอดเพียงแค่ 50,000 บาท ก็สามารถอยู่ในจุดที่คุ้มทุนได้แล้ว ส่วนยอดที่เหลือถ้าขายได้ถือว่าเป็นกำไรสุทธิของผู้ประกอบการทั้งหมด ซึ่งจากหลักสมการพื้นฐานด้านบนทำให้เกิดตัวแปรที่น่าสนใจและผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องรู้เพื่อนำทั้ง 2 ส่วนมาหาค่าของจุดคุ้มทุนประกอบไปด้วย
ต้นทุนผันแปรกับต้นทุนคงที่ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ต้นทุนผันแปร

คือ ต้นทุนที่เกิดขึ้นโดยมียอดอัตราผันแปรไม่หยุดนิ่งและแน่นอนไปตามการผลิตหรือสั่งซื้อสินค้า พูดง่ายๆก็คือถ้าทำหรือสั่งสินค้าและบริการมากขึ้นต้นทุนประเภทนี้ก็จะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนยอดออเดอร์ไปด้วยเช่นกัน อาทิ กล่องใส่สินค้าและวัตถุดิบ เป็นต้น

ต้นทุนคงที่

คือ จะมีลักษณะที่ตรงกันข้ามกับต้นทุนผันแปรอย่างสิ้นเชิง เพราะไม่ว่าผู้ประกอบการจะสั่งหรือลดยอดการสั่งซื้อวัตถุดิบสินค้าต้นทุนประเภทนี้ก็ไม่ได้ลดหรือเพิ่มตามจำนวนยอดที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย นั่นหมายความว่ายังไงเสียต้นทุนประเภทนี้ก็คือยอดค่าใช้จ่ายที่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เช่น ค่าเช่าพื้นที่ขายสินค้า ค่าจ้างพนักงาน เป็นต้น

จุดคุ้มทุนทางธุรกิจมีวิธีการคิดอย่างไร

จุดคุ้มทุนทางธุรกิจมีวิธีการคำนวนมากมายหลายวิธีโดยมีองค์ประกอบหลักที่ต้องทราบอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 ส่วนก่อนที่จะเริ่มทำการคำนวน คือ ต้นทุนคงที่ ต้นทุนผันแปร และยอดในการขายสินค้าหรือบริการ ซึ่งในโอกาสนี้จะขอนำสมการสูตรการคิดจุดคุ้มทุนที่ง่ายที่สุดมานำเสนอโดยเป็นการหาค่าของจุดคุ้มทุนเปรียบเทียบออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ค่าเฉลี่ย มีหลักการดังต่อไปนี้
ต้นทุนคงที่ หารด้วย (รายได้ทั้งหมดจากการขายสินค้า ลบด้วย ต้นทุนผันแปร) = จุดคุ้มทุน
ตัวอย่างเช่น นาย สมชาย ขายสินค้าประเภทหนึ่งมีรายจ่ายต่อเดือนอยู่ที่ 100,000 บาท โดยมียอดขายทั้งหมดอยู่ 120,000 บาท ซึ่งธุรกิจของสมชายมีต้นทุนคงที่อยู่ที่ 40,000 บาท ต้นทุนผันแปรอยู่ที่ 60,000 บาท แต่ในขณะเดียวกันก็มีธุรกิจของสมหญิงที่เป็นคู่แข่งขายสินค้าและทำตลาดประเภทเดียวกันกับสมชายมีรายจ่ายต่อเดือน 100,000 บาท มียอดขายที่ 120,000 บาทเท่ากัน แต่มีความแตกต่างที่ธุรกิจของสมหญิงมีต้นทุนคงที่ถึง 60,000 บาท และมีต้นทุนผันแปรเพียงแค่ 40,000 บาท เท่านั้น เมื่อทำการแทนค่าเพื่อหาจุดคุ้มทุนจะได้ผลออกมาดังนี้
สมชาย 40,000 / (120,000-60,000) = 66.67%
สมหญิง 60,000 / (120,000-40,000) = 75%
จะเห็นได้ว่าสมชายมีประสิทธิภาพในการขายสินค้าที่ดีกว่าเพราะต้องขายสินค้าให้ได้จำนวนเต็มเพียงแค่ 66.67 % เท่านั้นก็สามารถคืนทุนทั้งหมดได้แล้ว ส่วนอีก 33.33 % ที่เหลือทั้งหมดถ้าขายได้ก็ถือเป็นกำไรทั้งหมด แตกต่างจากสมหญิงที่ต้องขายสินค้าให้ได้มากถึง 75 % หรือกว่า 3 เท่าตัวของจำนวนเต็มสินค้าที่รับมาทั้งหมดก่อนถึงจะได้กำไร
จึงถือว่ามีความแตกต่างกันมากผู้ประกอบการจึงต้องคำนวนและใช้ความรอบคอบให้มากในการลงทุนโดยต้องคำนึงถึงทุกตัวแปรในการทำธุรกิจด้วย จากข้อมูลที่นำเสนอไปผู้ประกอบการคงทราบแล้วว่าการหาจุดคุ้มทุนทางธุรกิจมีส่วนสำคัญต่อการทำธุรกิจมากขนาด จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนจะต้องเรียนรู้และทำการทดสอบหาจุดคุ้มทุนที่แท้จริงของตัวธุรกิจของท่านเองก่อนที่จะนำเงินมาลงทุนอย่างจริงจัง

คำถาม

1 จุดคุ้มทุน คือ
2 ต้นทุนคงที่ คือ
3 ต้นทุนผันแปล คือ

3 ความคิดเห็น:

  1. 1 บรรทัดฐานที่แท้จริงในการวัดค่าความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจ ผู้ประกอบการจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาเรื่องนี้ให้ดีเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดในการทำธุรกิจ

    2 จะมีลักษณะที่ตรงกันข้ามกับต้นทุนผันแปรอย่างสิ้นเชิง เพราะไม่ว่าผู้ประกอบการจะสั่งหรือลดยอดการสั่งซื้อวัตถุดิบสินค้าต้นทุนประเภทนี้ก็ไม่ได้ลดหรือเพิ่มตามจำนวนยอดที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย นั่นหมายความว่ายังไงเสียต้นทุนประเภทนี้ก็คือยอดค่าใช้จ่ายที่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

    3 ต้นทุนที่เกิดขึ้นโดยมียอดอัตราผันแปรไม่หยุดนิ่งและแน่นอนไปตามการผลิตหรือสั่งซื้อสินค้า พูดง่ายๆก็คือถ้าทำหรือสั่งสินค้าและบริการมากขึ้นต้นทุนประเภทนี้ก็จะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนยอดออเดอร์ไปด้วยเช่นกัน อาทิ กล่องใส่สินค้าและวัตถุดิบ

    ตอบโดย นายอภิวัฒน์ บุญดีศิริพันธ์ 5101103086

    ตอบลบ
  2. 1 บรรทัดฐานที่แท้จริงในการวัดค่าความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจ ผู้ประกอบการจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาเรื่องนี้ให้ดีเพื่อหลีกเลี่ยงความผิด พลาดในการทำธุรกิจ

    2 จะมีลักษณะที่ตรงกันข้ามกับต้นทุนผันแปรอย่างสิ้นเชิง เพราะไม่ว่าผู้ประกอบการจะสั่งหรือลดยอดการสั่งซื้อวัตถุดิบสินค้าต้นทุน ประเภทนี้ก็ไม่ได้ลดหรือเพิ่มตามจำนวนยอดที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย นั่นหมายความว่ายังไงเสียต้นทุนประเภทนี้ก็คือยอดค่าใช้จ่ายที่ต้องเกิดขึ้น อย่างแน่นอน

    3 ต้นทุนที่เกิดขึ้นโดยมียอดอัตราผันแปรไม่หยุดนิ่งและแน่นอนไปตามการผลิตหรือ สั่งซื้อสินค้า พูดง่ายๆก็คือถ้าทำหรือสั่งสินค้าและบริการมากขึ้นต้นทุนประเภทนี้ก็จะเพิ่ม มากขึ้นตามจำนวนยอดออเดอร์ไปด้วยเช่นกัน อาทิ กล่องใส่สินค้าและวัตถุดิบ


    5101103127 นายสุวัฒน์ เสนากลาง

    ตอบลบ
  3. ข้อ 1 รายได้ที่ผู้ประกอบการได้จากการขายสินค้าหรือบริการในจุดที่ได้เท่ากันกับต้นทุน
    ข้อ 2 ต้นทุนประเภทนี้ก็คือยอดค่าใช้จ่ายที่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ม่ได้ลดหรือเพิ่มตามจำนวนยอดที่เปลี่ยนแปลงไป
    ข้อ 3 ต้นทุนที่เกิดขึ้นโดยมียอดอัตราผันแปรไม่หยุดนิ่งและแน่นอนไปตามการผลิตหรือสั่งซื้อสินค้า

    ตอบโดย
    นางสาวปรีดา สันนุจิตร
    5101103125 กลุ่ม C2/2

    ตอบลบ