วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

SET50 Index Futures

บทความโดย นางสาวสิริรัตน์  อนุตธโต   5101103106  
SET50 Index Futures
     เริ่มซื้อขายเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2549 ในตลาดอนุพันธ์ฯ (TFEX) เป็นสินค้าตัวแรก โดย SET50 Index Futures อ้างอิงกับดัชนี SET50 ซึ่งคำนวณมาจากหุ้นสามัญจดทะเบียนที่มีขนาดใหญ่ มีสภาพคล่องสม่ำเสมอจำนวน 50 ตัวแรก

    สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures) เป็นสัญญาที่ถูกจัดทำขึ้นระหว่างคู่สัญญา 2 ฝ่าย ที่ตกลงกันในวันนี้ เพื่อที่จะทำการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าหรือตราสารทางการเงินในอนาคต โดยที่มูลค่าของสัญญานั้น จะมีมูลค่าขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินค้าหรือตราสารทางการเงินที่เปลี่ยนแปลง
    สิ่งที่สำคัญสำหรับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า คือ การลงทุนหรือเก็งกำไรในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จะมีผลของการลงทุนเป็นแบบ Zero Sum Game คือ เป็นการที่ทั้งฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขายสัญญานั้นจะมีกำไรและขาดทุนรวมกันเป็น ศูนย์ เพราะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ได้รับผลกำไร อีกฝ่ายก็จะขาดทุนในจำนวนที่เท่ากับฝ่ายผู้ได้รับกำไรได้รับ
สิ่งที่สำคัญสำหรับการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นคือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะต้องมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้ ผู้ขาย (Seller) เป็นผู้ที่จัดทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขึ้มาขายให้แก่ผู้ซื้อ (Buyer) โดยสัญญานั้นจะเป็นการตกลงกันเพื่อซื้อหรือขายสินค้าอ้างอิง (Underlying Asset) ตามจำนวน (Quantity) ระยะเวลาที่ตกลงกันว่าจะทำการซื้อหรือขายสินค้า (Maturity or Delivery Date) และราคา (Futures Price)
การตกลงซื้อหรือขายล่วงหน้านั้น ผู้ซื้อและผู้ขายจะมีภาระผูกพันที่ต้องซื้อขายตามที่ตกลงกัน กำไรหรือขาดทุนของผู้ซื้อและผู้ขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นขึ้นอยู่กับราคาของสินทรัพย์อ้างอิงที่เปลี่ยนแปลงไป โดยผู้ซื้อจะได้กำไรเมื่อราคาของสินทรัพย์อ้างอิงนั้นเพิ่มขึ้น และผู้ขายจะได้กำไรเมื่อราคาของสินทรัพย์อ้างอิงนั้นลดลง
ลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า คือ สัญญาไม่จำเป็นต้องรอจนครบกำหนดอายุของสัญญาจึงสามารถทำการซื้อขายได้ แต่สามารถกระทำการสิ้นสุดสัญญาได้ทุกเมื่อ เมื่อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าออกไป
      SET50 Index Futures เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับดัชนี SET 50 โดยมีการตกลงกันว่า จะซื้อหรือขาย SET 50 Index ณ ราคาหนึ่งในอนาคต แต่ SET50 Index เป็นดัชนี ผู้ซื้อและผู้ขายจึงไม่สามาถส่งมอบสินทรัพย์เช่นเดียวกับการซื้อหรือขายสินทรัพย์หรือตราสารทางการเงินอื่น ๆ ดังนั้นการส่งมอบสินทรัพย์ตามสัญญาแบบนี้จึงเป็นเพียงการคำนวณกำไรหรือขาดทุน และชดใช้กันเป็นเงินสดแทนเท่านั้น
ผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์สามารถใช้ SET50 Index Futures เพื่อการป้องกันความเสี่ยงในการลงทุนได้ คือ เมื่อผู้ลงทุนได้ทำการลงทุนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โดยมีหุ้นสามัญถือครอบครองไว้จำนวนหนึ่ง แต่กลัวว่าราคาหุ้นจะปรับลดลงในอนาคต จะทำให้เกิดการขาดทุนจากการลงทุน ผู้ลงทุนจึงสามารถขาย SET50 Index Futures ออกไปเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง เพราะเมื่อราคาหุ้นสามัญในตลาดลดลง จะทำให้ผู้ลงทุนเกิดการขาดทุน แต่ผู้ลงทุนก็จะได้รับผลกำไรจากการลงทุนใน SET50 Index Futures ชดเชยการขาดทุนดังกล่าว
     ในทางกลับกันหากผู้ลงทุนคาดว่าดัชนี SET50 จะมีมูลค่ามากขึ้น ผู้ลงุทนจะทำการซื้อ SET50 Index Futures และหากการลงทุนดังกล่าวเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ผู้ลงทุนก็จะได้รับผลกำไรจากการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทนี้ ดังนั้นการซื้อ SET50 Index Futures จึงเป็นการลงทุนเพื่อการป้องกันการเพิ่มขึ้นของราคาหลักทรัพย์ เพราะผุ้ลงทุนอาจต้องการที่จะซื้อหุ้นสามัญในอนาคต แต่กลัวว่าราคาจะเปลี่ยนแปลงไป จะทำการซื้อ SET50 Index Futures เพื่อการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว
การที่ผู้ลงทุนจะต้องการทำการป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์โดยใช้ SET50 Index Futures นั้น ผู้ลงทุนทุกคนควรที่จะต้องทำการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของ SET50 Index Futures ก่อนว่ามีคุณลักษณะเช่นใด
SET50 Index Futures นั้นเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับดัชนี SET50 โดยสัญญาจะมีการตกลงกันว่า จะซื้อหรือขาย SET50 Index ณ ราคาหนึ่งในอนาคต โดยที่ผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์นั้นสามารถเลือกลงทุนใน SET50 Index Futures เพิ่มเติม เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ในตลาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะหากราคาหลักทรัพย์ที่ผู้ลงทุนเลือกลงทุนอยู่นั้นเกิดราคาลดลง ผู้ลงทุนที่ลงทุนเพิ่มเติมใน SET50 Index Futures นั้นจะได้รับผลกำไรชดเชยจากการลงทุนเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นการทดแทน หรือที่เราสามารถเรียกได้ว่าเป็นการป้องกันความเสี่ยงนั่นเอง
     สาเหตุที่ตลาดอนุพันธ์ได้เลือกนำเอา SET50 Index มาเป็นเครื่องมือในการซื้อขายล่วงหน้าเพราะ SET50 Index นั้นเป็นดัชนีที่มีลักษณะคล้ายกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) แต่เป็นการคัดเลือกหลักทรัพย์จำนวน 50 บริษัทมาทำการคำนวณหาค่าดัชนีแทน โดยการที่จะได้มาซึ่งดัชนีนั้นจะต้องทำการคัดเลือกจากหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 200 ลำดับแรกที่มีการซื้อขายจำนวนสูงสุดเฉลี่ยต่อวันย้อนหลัง 12 เดือน และไม่ได้อยู่ระหว่างการสั่งการพักซื้อขาย (SP) นานเกินกว่า 7 วัน และหลักทรัพย์ดังกล่าวจะต้องจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน โดยจะทำการพิจารณาคัดเลือกหลักทรัพย์ที่จะนำมาคำนวณเป็นค่าดัชนีดังกล่าวทุก ๆ 6 เดือน (ปีละ 2 ครั้ง)ดังนั้น SET50 Index จึงเป็นค่าดัชนีที่ถือได้ว่าเป็นตัวแทนที่ดีสำหรับการลงทุนทั้งตลาด เพราะถ้าหากตลาดหลักทรัพย์อยู่ในภาวะที่ไม่ดี ค่าของดัชนีนี้ก็จะมีค่าลดลง และในทางกลับกัน ถ้าตลาดหลักทรัพย์อยู่ในภาวะที่ดี ค่าของดัชนีนี้ก็จะมีค่าสูงขึ้นเช่นกันดังนั้นถ้าผู้ลงทุนได้ทำการลงทุนอยู่ซื้อหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์ แต่คาดการณ์ว่าราคาหุ้นสามัญนั้นอาจจะมีราคาลดลงในอนาคต ผู้ลงทุนจึงสามารถขาย SET50 Index Futures ออกไปเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง เพราะเมื่อราคาหุ้นสามัญในตลาดลดลง ผู้ลงทุนจะเกิดการขาดทุน แต่ผู้ลงทุนก็จะได้รับผลกำไรจากการขาย SET50 Index Futures ชดเชยการขาดทุน (Short Position)

      ศัพท์เทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้การการกำหนดการซื้อขาย SET50 Index Futures
มีรายละเอียดดังนี้
ตัวคูณดัชนี (Multiplier) เป็นราคาที่ใช้ในการคำนวณเมื่อค่าดัชนี SET50 เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยได้กำหนดไว้ว่า SET50 Index 1 จุด มีค่าเท่ากับ 1,000 บาท ดังนั้น ถ้าผู้ลงทุนขาย SET50 Index Futures ที่ราคา 530 จุด ก็แสดงว่าสัญญาดังกล่าวนั้นจะมีมูลค่า 520 x 1,000 = 520,000 บาท
ช่วงห่างของราคาขั้นต่ำ (Tick Size) เป็นการกำหนดการเสนอราคาของดัชนี โดยการเสนอราคาซื้อหรือขายในแต่ละครั้งจะต้องเสนอในหน่ยทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง เช่น ซื้อ SET50 Index Futures ที่ 522.00 หรือ 522.10 หรือ 522.20 เป็นต้น แต่ไม่สามารถกำหนดถึงทศนิยมตำแหน่งที่สองได้ เช่น 520.01 หรือ 520.02
ช่วงของการเปลี่ยนแปลงสูงสุดในแต่ละวัน (Price Limit) เป็นการกำหนดราคาซื้อขาย Futures โดยจะสามารถเสนอซื้อขาย เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ไม่เกิน 30% ของราคาที่สำนักหักบัญชีประกาศไว้ในวันก่อนหน้าวันทำการปัจจุบัน เช่น ราคาของ SET50 Index Futures ที่สำนักหักบัญชีได้ประกาศใช้เมื่อวานนี้มีค่าเท่ากับ 500 จุด ดังนั้นการเคลืนอไหวของราคาในวันนี้จะเปลี่ยนแปลงได้สูงสุดไม่เกินกว่า 350 จุด ถึง 650 จุด (บวกและลบด้วย 30%)
Circuit Breaker เป็นการหยุดการซื้อหรือขายเมื่อตลาดหลักทรัพย์หยุดทำการซื้อขาย โดยจะมี Circuit Breaker ครั้งที่ 1 จะทำงานเมื่อราคาของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ลดลง 10% และตลาดหลักทรัพย์หยุดการซื้อขาย จะเปิดให้มีการซื้อขายเมื่อตลาดหลักทรัพย์เปิดทำการซื้อขายต่อไป สำหรับ Circuit Breaker ครั้งที่ 2 จะทำงานเมื่อตลาดหลักทรัพย์มีค่าดัชนีลดลง 20% และหยุดการซื้อขาย โดยจะเปิดให้มีการซื้อขายอีกครั้งเมื่อตลาดหลักทรัพย์เปิดให้มีการซื้อขายต่อไป และตลาดหลักทรัพย์จะให้ซื้อขายต่อไป แต่ราคาจะต้องไม่ต่ำกว่า 30%
นอกจากนี้การหยุดการซื้อขายของ SET50 Index Futures จะกระทำเมื่อตลาดหลักทรัพย์หยุดทุกครั้ง เช่น การหยุดทำการของตลาดหลักทรัพย์เมื่อเกิดเหตุการณ์ขัดข้องทางเทคนิคเป็นต้น
เดือนที่สัญญาสิ้นอายุ (Maturity) สัญญา SET50 Index Futures นั้นจะมีรอบการครบกำหนดชำระราคาคือ ทุกสิ้นเดือนมีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากลนิยม โดยปกติแล้วการครบกำหนดตามสัญญาของ Futures Contract ระบบไตรมาสโดยทั่วไปนั้นจะมีรอบกำหนดระยะเวลาใหญ่ ๆ 2 แบบ คือ แบบ January Quarterly Cycle ซึ่งจะมีระยะเวลาครบรอบกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดทุกเดือน มกราคม เมษายน กรกฎาคม และตุลาคม และแบบ March Quarterly Cycle คือครบกำหนดทุกสิ้นเดือน มีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม
Series Name ของ SET50 Index Futures นั้นเป็นการกำหนดตัวอักษรย่อ เพื่อให้เกิดความง่ายต่อการเข้าใจในการส่งคำสั่งซื้อหรือขายของนักลงทุน โดยจะมีการกำหนด Series Name เป็นสามส่วนคือ
      ส่วนที่ 1 จะระบุชนิดของสิ้นค้าที่จะทำการซื้อหรือขาย เช่น SET50 Index Futures จะถูกกำหนดเป็น S50 เป็นต้น
    สำหรับส่วนที่สองของ Series Name นั้นจะระบุถึงเดือนที่สัญญาจะครบกำหนดตามสัญญา ใช้ตัวอักษร 1 ตัวแทนชื่อเดือนต่าง ๆ โดยมีวิธีการกำหนดชื่อเดือนตามหลักสากล ดังนี้ เดือน มกราคม ใช้อักษรย่อ F กุมภาพันธ์ G มีนาคม H เมษายน J พฤษภาคม K มิถุนายน M กรกฎาคม N สิงหาคม Q กันยายน U ตุลาคม V พฤศจิกายน X ธันวาคม Z
สำหรับส่วนที่ 3 ของ Series Name เป็นการระบุถึงปีของการสิ้นสุดสัญญา เช่น 07 คือปี ค.ศ. 2007 เป็นต้น
ดังนั้นการกำหนด Series Name เช่น S50M07 แสดงให้เห็นว่าคำสั่งการซื้อหรือการขาย SET50 Index Futures ในครั้งนี้เป็นสัญญาของ เดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 2007 หรือ S50H08 ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นสัญญา SET50 Index Futures ของเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 2008 เป็นต้น
    วันซื้อขายวันสุดท้าย (Last Trading Day) คือ วันทำการของตลาดหลักทรัพย์ก่อนหน้าวันทำการวันสุดท้ายของเดือน เช่น เดือนมีนาคม 2549 วันทำการวันสุดท้ายของเดือนคือวันที่ 31 มีนาคม 2549 ดังนั้น Last Trading Day คือวันที่สามารถทำการซื้อขายวันสุดท้ายของเดือนได้ก็คือ วันที่ 30 มีนาคม 2549


คำถาม

1.สิ่งที่สำคัญสำหรับการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของ SET50 Index Futures คืออะไร

2.สาเหตุที่ตลาดอนุพันธ์ได้เลือกนำเอา SET50 Index มาเป็นเครื่องมือคืออะไร

3.Series Name ของ SET50 Index Futures หมายความว่าอย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น