วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

โครงสร้างทางการเงินและการจัดหาเงินทุน

จัดทำบทความโดย นาย นที สู่เสรีดำรง

        โครงสร้างทางการเงิน หมายถึง  แหล่งที่มาของเงินทุนทั้งหมดของธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยหนี้สินหมุนเวียน
 หนี้สินไม่หมุนเวียนและส่วนของผู้ถือหุ้น หรือหมายถึงข้อมูลเฉพาะส่วนของหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้นในงบดุลนั่นเอง
สำหรับแหล่งที่มาของเงินทุนเฉพาะส่วนของเงินทุนระยะยาวทั้งหมดของธุรกิจ ซึ่งได้แก่ หนี้สินไม่หมุนเวียนและ
ส่วนของผู้ถือหุ้น เรียกว่า โครงสร้างเงินทุน ซึ่งเป็นเงินทุนหลักที่ธุรกิจใช้เพื่อลงทุน ดังนั้น โครงสร้างเงินทุนเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างทางการเงิน               
 โครงสร้างทางการเงิน = หนี้สินหมุนเวียน + หนี้สินไม่หมุนเวียน+ ส่วนของผู้ถือหุ้น


        โครงสร้างของเงินทุน หมายถึง การจัดหาเงินทุนระยะยาวของธุรกิจ ซึ่งได้แก่หนี้สินระยะยาว หุ้นบุริมสิทธิ
และส่วนของผู้ถือหุ้น โครงสร้างจองเงินทุนจะไม่รวมหนี้สินระยะสั้น ดังนั้นโครงสร้างของเงินทุนจึงเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างทางการเงิน               
 โครงสร้างเงินทุน = หนี้สินไม่หมุนเวียน+ ส่วนของผู้ถือหุ้นตลาดการเงิน (Financial Markets)


ตลาดการเงินเป็นแหล่งเงินทุนซึ่งทำหน้าที่ให้กู้ยืมและลงทุนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ
       ตลาดการเงินที่ไม่เป็นทางการหรือตลาด OTC หมายถึง  แหล่งที่มีการระดมเงินทุนและการจัดสรรเงินทุนระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาวจากแหล่งเงินทุนที่ไม่มีกฎหมายควบคุม ผู้เกี่ยวข้องส่วนใหญ่เป็นบุคคลธรรมดา ตลาดการเงินที่ไม่เป็นทางการโดยทั่วไปจะไม่มีหลักเกณฑ์หรือระเบียบมากนัก อาจไม่มีหลักเกณฑ์การกู้ยืม ไม่มีข้อมูลสินค้าที่ถูกต้อง และแน่นอน ความเสี่ยงและผลตอบแทนในการกู้ยืมสูง
        ตลาดการเงินที่เป็นทางการ (Organized Financial Market) หมายถึง แหล่งที่มีการระดมเงินทุนและการจัดสรรเงินทุนระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาวจาก สถาบันการเงินที่ตั้งขึ้นมาตามกฎหมาย มีหลักเกณฑ์การปฏิบัติที่แน่นอน ผู้เกี่ยวข้องส่วนใหญ่เป็นนิติบุคคล การกู้ยืมมีหลักฐาน เช่น การทำสัญญากู้เงินและการใช้ตั๋วสัญญาใช้เงิน เป็นต้น มีการบันทึกข้อมูลสินเชื่อ การให้กู้ยืม ในตลาดการเงินที่เป็นทางการมีความเสี่ยงและผลตอบแทนต่ำกว่าการให้กู้ยืมในตลาดการเงินที่ไม่เป็นทางการ


บทบาทของตลาดการเงิน
         ตลาดการเงิน เป็นตลาดที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้มีเงินออมกับผู้ที่ต้องการเงินตามระบบเศรษฐกิจทุนนิยม


โดยเปลี่ยนเงินออมไปเป็นการลงทุนทั้งในรูปของการให้สินเชื่อ และการลงทุนในหลักทรัพย์ ตลาดการเงิน
สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ตลาดเงิน (Money market) คือตลาดที่มีการระดมเงินจากประชาชนและการให้ สินเชื่อระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี
ทั้งแก่ภาครัฐและเอกชน ซึ่งรวมถึงนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา รวมทั้งการซื้อขายหลักทรัพย์ทางการเงินที่มีอายุ
การไถ่ถอนระยะสั้น เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วเงินคลัง เป็นต้น

2. ตลาดทุน (Capital market) คือ แหล่งระดมเงินทุนได้โดยผ่านการกู้ยืมจากธนาคารและสถาบันการเงิน ซึ่งจะระดม
เงินทุนจากผู้มีเงินออมในรูปของการรับฝากหรือกู้ยืมเงิน โดยมีผลตอบแทนเป็นการจูงใจคือดอกเบี้ย


2.1   ตลาดสินเชื่อทั่วไป  สามารถระดมเงินทุนได้โดยผ่านการกู้ยืมจากธนาคารและสถาบันการเงิน
ซึ่งจะระดมเงินจากผู้มีเงินออมในรูปของการรับฝากหรือกู้ยืมเงิน โดยมีผลตอบแทนเป็นการจูงใจคือดอกเบี้ย

                2.2   ตลาดหลักทรัพย์และตลาดตราสารหนี้  เป็นตลาดที่มีการออดตราสารทางการเงินหรือหลักทรัพย์ เช่น
               หุ้นสามัญ หุ้นกู้ และพันธบัตร เป็นต้น                นอกจากนั้น ทั้งสองตลาดนี้ ยังสามารถแบ่งออกเป็น


1.     ตลาดแรก (Primary market) คือ ตลาดที่ทำการซื้อขายเฉพาะหลักทรัพย์จากองค์กรหรือ
บริษัทผู้ออกโดยตรง โดยไม่ผ่านสถาบันการเงิน บริษัท หลักทรัพย์ หรือกองทุนรวมใดๆ

2.     ตลาดรอง  (Secondary market) คือตลาดที่ทำการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เคยถูกทำการซื้อขาย
มาแล้วในตลาดแรก ส่วนใหญ่มักจะซื้อผ่านคนกลาง เช่น สถาบันการเงิน ท่านอาจจะจำลักษณะ
ของตลาดรองว่าคล้ายๆ กับตลาดขายของมือสอง ซึ่งเป็นตลาดที่มีไว้สำหรับเปลี่ยนมือ
หลักทรัพย์เท่านั้น  การจัดหาแหล่งเงินทุนระยะสั้น (Short-Term  Financing)

                เงินทุนระยะสั้น  หมายถึง  เงินทุนที่ธุรกิจจัดหามาเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการที่มีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี 
 จำนวนและระยะเวลาของเงินทุนระยะสั้นที่ธุรกิจต้องจัดหามานั้น  ได้จาการจัดทำงบประมาณเงินสดแหล่งเงินทุนระยะสั้นสินเชื่อทางการค้า    (Trade Credit)

  • ผู้ขายมอบสินค้าให้ก่อนที่ผู้ซื้อจะชำระเงิน (เงินทุนที่เกิดโดยอัตโนมัติ)
  • เงื่อนไขของสินเชื่อการค้ามีรายละเอียดเกี่ยวกับ

    • การกำหนดเวลาเริ่มต้น (EOM หรือ วันที่ที่ปรากฏในใบกำกับสินค้า)
    • การกำหนดเวลาที่ได้รับส่วนลด
    • การกำหนดอัตราส่วนลด
    • การกำหนดเวลาชำระหนี้สิน
    • เช่น 2/10, n/30 EOM
ตราสารพาณิชย์ (Commercial Paper)

  • ตั๋วสัญญาใช้เงินระยะสั้น ไม่ต้องมีหลักประกัน
  • ออกโดยบริษัทขนาดใหญ่ มีฐานะทางการเงินที่ดี
  • ต้นทุนต่ำกว่าการกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์
 เงินกู้ระยะสั้นจากธนาคารโดยไม่มีหลักประกันเงินกู้เฉพาะกรณี (Transaction Loan)

  • กู้เฉพาะโครงการใดโครงการหนึ่ง ที่ระบุระยะเวลาและอัตราดอกเบี้ย
  • พิจารณาเป็นโครงการไป
แบบกำหนดวงเงินกู้ (Line of Credit)

  • เป็นข้อตกลงระหว่างธนาคารกับลูกค้าอย่างไม่เป็นทางการโดยธนาคารกำหนดวงเงินสูงสุดในการให้กู้
  • ข้อตกลงดังกล่าวโดยทั่วไปอายุไม่เกิน 1 ปี เมื่อครบกำหนดอาจขอต่อสัญญาใหม่
 เงินกู้ระยะสั้นจากธนาคารโดยไม่มีหลักประกันเงินกู้แบบหมุนเวียน (Revolving Credit)

  • เป็นข้อตกลงระหว่างธนาคารกับลูกค้าอย่างเป็นทางการ
  • ผู้กู้สามารถกู้เงินจากธนาคารจนครบวงเงินที่ตกลงไว้
  • ธนาคารคิดค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ (Commitment Fee)
 ต้นทุนการกู้ยืม (Cost of Borrowing)อัตราดอกเบี้ย (Interest Rates)

  • คิดจากความน่าเชื่อถือของผู้กู้ และจำนวนเงินขอกู้

    • Collect Basis             - จ่ายดอกเบี้ยเมื่อถึงวันครบกำหนด
    • Discount Basis           - หักดอกเบี้ยออกจากเงินต้นทันที
  • เช่น กู้เงิน 10,000 บาท ต้องจ่ายดอกเบี้ย 1,000 บาท ระยะเวลา 1 ปี หาอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Rate)
 ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accruals)

  • ถือเป็นแหล่งเงินทุนอัตโนมัติ
  • ค่าแรงค้างจ่าย ค่าภาษีค้างจ่าย
  • ค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแล้ว แต่กิจการยังไม่ได้จ่ายเงินสดออกไป
แหล่งเงินทุนระยะสั้น 1. เครดิตการค้า ( Trade Credit )
2. ตราสารพาณิชย์ ( Commercial Paper )
3. เงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ ( Short Term Loans)
เครดิตการค้า มี 3 รูปแบบคือ

 1. บัญชีเงินเชื่อ ( Open Account ) หมายถึง ผู้ขายสินค้าส่งสินค้าให้กับผู้ซื้อพร้อมทั้งใบแจ้งหนี้ ซึ่งแสดงรายการต่าง ๆ
 เกี่ยวกับราคาสินค้า จำนวนสินค้า ยอดเงินที่ต้องชำระโดยผู้ซื้อไม่ต้องเซ็นหลักฐานใดๆที่แสดงความเป็นหนี้อย่างเ
ป็นทางการ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ขายจะมีการตรวจสอบฐานะทางการเงินของผู้ซื้อก่อน

2. ตั๋วเงินจ่าย ( Note Payable ) ในกรณีนี้ผู้ขายจะขอให้ผู้ซื้อลงนามในตั๋วสัญญาใช้เงิน เพื่อรับรองสภาพการเป็นหนี้
 ตั๋วสัญญาใช้เงินนี้จะระบุวันที่ที่ผู้ซื้อจะต้องชำระเงินไว้อย่างชัดเจน

3. ตั๋วแลกเงิน ( Trade Acceptance ) เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อต้องเซ็นรับรองการเป็นหนี้ไว้เป็นหลักฐาน ผู้ขายจะออกดราฟท์ใ
ห้ผู้ซื้อเซ็นรับรองว่าจะชำระหนี้ภายในกำหนด และเมื่อถึงกำหนดจะให้นำ ดราฟท์นั้นไปขึ้นเงินที่ธนาคารใด เมื่อผู้ซื้อเ
ซ็นแล้วดราฟท์ก็จะกลายเป็นตั๋วแลกเงิน และตั๋วแลกเงินนี้สามารถนำไปขายลดในท้องตลาดเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันทีการชำระเงินค่าสินค้าตามเครดิตการค้า  มี 2 ลักษณะ  ดังนี้

1. การชำระเงินค่าสินค้าในวันครบกำหนดการค้า (Payment on the Final Due Date) กรณีเงื่อนไขไม่มีส่วนลดเงินสด 
ธุรกิจจะชำระเงินค่าสินค้าในวันครบกำหนดชำระแต่ถ้าเงื่อนไขการขายมีส่วนลดเงินสด  ผู้ซื้ออาจชำระเงินภายใน
กำหนดเวลาที่ให้ส่วนลดเงินสดโดยได้รับส่วนสดหรืออาจชำระเงินในวันครบกำหนดโดยไม่รับส่วนลดเงินสดก็ได้

2. การยืดระยะเวลาชำระหนี้  (Streching Accounts Payable/ Leaning on the Trade) เป็นการ  ยืดระยะเวลาชำระหนี้
หลังจากวันครบกำหนดชำระตามเงื่อนไขการขาย การกระทำเช่นนี้ธุรกิจจะต้องเสียต้นทุนค่าเสียโอกาสจากการ
ไม่รับส่วนลดเงินสด ค่าธรรมเนียมหรือดอกเบี้ยเนื่องจากการชำระหนี้ช้ากว่ากำหนดชำระตามเงื่อนไขการขาย และที่สำคัญก็คืออาจทำให้เสียเครดิตในวงการค้า 
ข้อดีของเครดิตการค้า
1. เป็นแหล่งเงินทุนที่มีอยู่ทั่วไปและหาได้ง่าย
2. ไม่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายใด ๆ
3. การขอเครดิตการค้าไม่ต้องทำเป็นทางการ
4. เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่มีเครดิตพอที่จะหาเงินจากแหล่งอื่น
5. มีความยืดหยุ่นสูง เช่นอาจจะเลื่อนเวลาการชำระเงินได้
 ตราสารพาณิชย์ (Commercial  Paper)

ตราสารพาณิชย์ คือ ตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีอายุสั้นประมาณ 3 วัน - 9เดือน ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ออกโดยบริษัท
ที่มีชื่อเสียง มีฐานะทางการเงินน่าเชื่อถือ และสัญญาว่าจะจ่ายเงินแก่ผู้ถือตั๋ว ตลาดตราสารพาณิชย์ แบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ

1.       ตลาดตราสารพาณิชย์ที่ขายผ่านผู้ค้าหลักทรัพย์ ( Dealer Market ) ซึ่งผู้ค้าหลักทรัพย์จะคิดค่านายหน้าจากผู้ออกตราสาร                   
        2.        ตลาดตราสารพาณิชย์ที่ขายโดยผู้ออกโดยตรง ( Direct Placement Market ) วิธีนี้ผู้ออกตราสารจะขายให้นักลงทุนโดยตรง
ผู้ซื้อตราสารอาจจะเป็นธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงิน หรือบริษัททั่วไป โดยซื้อไว้เพื่อเก็งกำไร หารายได้
  ข้อดีและข้อเสียของตราสารพาณิชย์
ข้อดี
1. อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้น
2. ไม่ถูกจำกัดโดยกฎหมายเหมือนการกู้ยืมเงินจากธนาคาร
3. ไม่ต้องมีหลักประกัน
ข้อเสีย
1. ผู้ซื้อตราสารมีเงินทุนจำกัดในบางช่วง ทำให้การขายตราสารไม่เป็นตามที่คาดไว้
2. ผู้ออกตราสารพาณิชย์ที่มีปัญหาทางการเงิน จะขาดความน่าเชื่อถือทำให้ขายตราสารได้ยาก
เงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ (Unsecured short-termloand) แบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้

1.  เงินกู้ชนิดไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ( Unsecured Loans ) คือ เงินกู้ประเภทที่สามารถชำระหนี้คืนในตัวมันเอง
( Self - liquidating ) ซึ่งหมายความว่าสินทรัพย์ที่จัดหามาโดยการใช้เงินกู้ยืมนี้ รายได้ที่ได้กลับมาเปลี่ยนเป็นเงินสด
ไหลเข้ามาพอเพียงที่จะชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวภายใน 1 ปี

2.  เงินกู้ชนิดมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ( Secured Loans ) กรณีที่ธนาคารเห็นว่าผู้กู้มีความสามารถในการจ่ายเงินคืน
ไม่เพียงพอ จึงกำหนดให้มีหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อลดความเสี่ยงภัยทางการเงิน ซึ่งพิจารณาจาก
1. กระแสเงินสดที่เกิดขึ้นจากความสามารถในการดำเนินงานของธุรกิจ
2. เงินที่ได้จากการขายหลักทรัพย์ที่ค้ำประกัน
  ประโยชน์ของการใช้แหล่งเงินทุนระยะสั้น
1. ต้นทุนต่ำกว่า เพราะกิจการจะชำระดอกเบี้ยของทุนเฉพาะช่วงที่นำมาใช้เท่านั้น
2. เกิดความสัมพันธ์กับธนาคารอย่าใกล้ชิด กู้ยืมเฉพาะเวลาที่ต้องการและชำระคืนทันทีเมื่อหมดความต้องการแหล่งเงินทุนระยะยาว (Long-Term Financing)

เงินทุนระยะยาว หมายถึง  เงินทุนที่ธุรกิจจัดหามาเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการที่มีระยะเวลามากกว่า 1 ปี 
โดยทั่วไปธุรกิจจัดหาเงินทุนระยะยาวเพื่อนำไปลงทุนในสินทรัพย์ถาวร  แหล่งที่มาของเงินทุนระยะยาว
จากแหล่งเงินทุนภายในและเงินทุนระยะยาวจากแหล่งเงินทุนภายนอก  เงินทุนระยะยาวจากแหล่งเงินทุน
ภายในเป็นเงินทุนที่ได้จากการดำเนินงาน  ได้แก่กำไรสะสม  เงินทุนระยะยาวจากแหล่งเงินทุนภายนอก
จัดหาได้หลายลักษณะ  เช่น  การกู้ยืมเงินทุนระยะยาวจากสถาบันการเงิน  การออกหุ้นกู้  หุ้นบุริมสิทธ์และ
หุ้นสามัญ  เป็นต้น แหล่งเงินทุนระยะยาวการจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนโดยมีระยะเวลากู้ยืมมากกว่า 1 ปี

  • การจัดหาแหล่งเงินทุนจากแหล่งเงินทุนภายใน

    •  เงินลงทุนส่วนตัว
    • กำไรสะสมของกิจการ (retain profit)
  • การจัดหาแหล่งเงินทุนจากแหล่งเงินทุนภายนอก

    • การกู้ยืมเงินระยะยาวจากสถาบันการเงินหรือบุคคลทั่วไป
    • การออกหลักทรัพย์ชนิดต่าง ๆ แก่บุคคลหรือสถาบันการเงิน ได้แก่ การขายหุ้นให้มหาชน
    • การออกหุ้นกู้, ฯลฯ
พันธบัตร หรือ หุ้นกู้   “สัญญา (ตราสาร) ที่แสดงการกู้ยืมเงิน ระหว่างผู้กู้ (บริษัทผู้ออกตราสารหนี้) กับผู้ให้กู้ (ผู้ลงทุน/ ถือตราสารหนี้) โดยในสัญญาระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการกู้ยืมนั้น”                
 
หุ้นสามัญ


  • เป็นการจัดหาเงินทุนจากส่วนของทุน (Equity)
  • โดยการออกจำหน่ายหุ้นสามัญ
  • ผู้ถือหุ้นสามัญมีสถานะเป็นเจ้าของบริษัทและมีสิทธิตามกฎหมายดังต่อไปนี้

    • การควบคุมบริษัท
    • สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญได้ก่อน
หุ้นบุริมสิทธ์


  • เป็นการจัดหาเงินทุนจากส่วนของทุน (Equity)
  • แต่มีลักษณะเป็นหลักทรัพย์ผสมกึ่งหนี้สินและกึ่งหุ้นสามัญ
  • ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์ คือ เงินปันผล (แต่จะระบุไว้คงที่ เช่นเดียวกับดอกเบี้ยของหุ้นกู้หรือพันธบัตร)
  • ปกติจะอยู่กำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ของราคา Par
 ประโยชน์ของการใช้แหล่งเงินทุนระยะยาว                                
1. ลดความเสี่ยง                                  2. ให้ความมั่นคง                                
3. เพิ่มสภาพคล่อง 
คำถาม
1. โครงสร้างทางการเงิร หมายถึง
2.โครงสร้างของเงินทุน หมายถึง
3.ตลาดการเงินที่ไม่เป็นทางการหรือตลาด OTC หมายถึง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น