วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

บทความโดย นาย ชิตณรงค์ สิทธิยานันท์   5101103140

หลายคนอาจเคยเข้าใจว่า ไม่มีความจำเป็นใดๆเลยที่จะต้องเข้าไปศึกษาเรื่องราวของธุรกิจ
แต่แท้ที่จริงแล้ว คนทุกคนต่างก็ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับคำว่าธุรกิจอยู่แล้ว อย่างน้อยก็อยู่ในฐานะผู้บริโภคหรือผู้ที่ต้องไปใช้บริการ

นับว่าเป็นสิ่งดีว่า การศึกษาธุรกิจทำให้ผู้บริโภคมีความฉลาดมากขึ้นที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือใช้บริการต่างๆ ในกิจการที่ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจโดยคำนึงถึงความพึงพอใจของผู้บริโภคและสามารถเลือกธุรกิจที่ไม่เอาเปรียบผู้บริโภคและสังคม นอกจากนี้ ยังจะช่วยให้ได้ทราบข้อมูลบางอย่างที่ผู้บริโภคเองจะตัดสินใจซื้อสินค้า หรือบริการต่างๆ ของธุรกิจที่เข้าไปเกี่ยวข้องได้
  

นอกจากนี้ การศึกษาธุรกิจสามารถช่วยในการเลือกอาชีพในอุดมคติให้กับตนเองได้ เนื่องจากการประกอบอาชีพทางธุรกิจเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นและการทำงานมีความท้าทายมากจึงเหมาะสำหรับบุคคลที่ชอบการแข่งขัน และต้องการบรรลุเป้าหมายของตนเอง เนื่องจากธรรมชาติของธุรกิจจะต้องมีการแข่งขันและสามารถที่จะหาวิธีวัดความสำเร็จทางธุรกิจได้ เช่น วัดจากยอดขาย กำไร และส่วนแบ่งตลาด ซึ่งไม่ว่าจะประกอบธุรกิจของตนเองหรือทำงานในองค์การธุรกิจ ทั้งในและต่างประเทศ หรือ เป็นผู้ที่รับผิดชอบงานทางด้านบริหารธุรกิจ นับว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายทั้งในแง่ของการทำงาน การติดต่อทางสังคม และรางวัลซึ่งเป็นผลตอบแทนที่ได้รับ คือ เงิน นั่นเอง  ดังนั้น หากต้องการเพิ่มโอกาสแห่งความสำเร็จ ก็จะต้องศึกษาการดำเนินของธุรกิจ ซึ่งผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจหลายด้านเพื่อที่จะจัดตั้งและดำเนินธุรกิจของตนเอง ที่สำคัญได้แก่ ด้านการจัดการ    การผลิต การตลาด การเงิน การจัดการความเสี่ยง การบัญชี กฎหมาย ธุรกิจและภาษีอากร เป็นต้น

คุณผู้อ่าน สิ่งที่ผู้ประกอบการหรือ ผู้เป็นเจ้าของกิจการ ไม่ควรมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารในระดับใดนั่นก็คือการเรียนรู้ทางธุรกิจเพื่อเป็นการเพิ่มแนวคิดและทักษะต่างๆ ให้กับตนเอง ในการที่จะปฏิบัติตนในการเป็นผู้บริหาร หรือ ลูกจ้างที่ดีเป็นที่พอใจของนายจ้าง ความรู้ที่ได้ จากการศึกษาธุรกิจ ได้แก่ ทักษะในด้านการทำแผนธุรกิจ การแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ กำหนดวัตถุประสงค์เลือกการออกแบบโครงสร้างองค์การที่ถูกต้องการทำวิจัยและกำหนดกลยุทธ์การตลาดการทำงบประมาณ วิเคราะห์และวางแผนทางการเงิน เป็นต้น สามารถที่จะนำความรู้ไปเป็นเครื่องมือและประยุกต์ใช้ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
  
และนี่ก็คือเหตุผลเพื่อยืนยันว่า ธุรกิจคือสิ่งจำเป็นที่ต้องศึกษา โดยเฉพาะปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ และมีอิทธิพลต่อธุรกิจ ในการก้าวไปสู่ความสำเร็จ หรือล้มเหลวได้ นั่นคือสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ นั่นเอง ค่ะ

ถือเป็นความจำเป็นที่จะต้องศึกษา สภาพแวดล้อมธุรกิจ เนื่องจากว่า ความสำเร็จหรือล้มเหลวส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ถึงแม้ว่าผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการไม่สามารถที่จะควบคุมสภาพแวดล้อมทางธุรกิจได้ แต่ต้องพยายามปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ธุรกิจเจริญเติบโตและอยู่รอด  โดยเจ้าของกิจการ หรือผู้บริหารจำเป็นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าสภาพแวดล้อมทางธุรกิจนั้น ผลกระทบต่อกิจการของตน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุปสรรคหรือโอกาส แล้วตอนนี้ อยากทราบไหมค่ะว่า สภาพแวดล้อมทางธุรกิจประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เชิญติดตามค่ะ

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพแวดล้อมภายใน

สภาพแวดล้อมภายนอก เป็นปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อองค์การธุรกิจ หรือกิจการซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ อันได้แก่ สภาพแวดล้อมทั่วไปและสภาพแวดล้อมการดำเนินงาน หากจะพูดถึง สภาพแวดล้อมทั่วไป ถือเป็นปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ไม่ได้มีผลกระทบโดยตรงแต่ก็มีผลกระทบทางอ้อมต่อการดำเนินงานของกิจการ ไม่ว่าจะเป็น ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การเมือง กฎหมาย เทคโนโลยี และปัจจัยระหว่างประเทศ

ปัจจัยทางเศรษฐกิจ มีความสำคัญต่อการประกอบธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง หากสภาพเศรษฐกิจดีก็จะเอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ในทางตรงกันข้าม ถ้าสภาพเศรษฐกิจมีแนวโน้มถดถอยหรือตกต่ำ เงื่อนไขทางเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และยากที่จะพยากรณ์ซึ่งมีผลทำให้การประกอบธุรกิจหยุดชะงัก ล้มเหลวหรืออาจจะต้องเลิกกิจการได้

ส่วนปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม นั้นได้แก่ ทัศนะคติทางสังคม ค่านิยม บรรทัดฐาน ความเชื่อ พฤติกรรม การเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากร เช่น การศึกษา และอัตราการเกิด นับได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยดังกล่าวมีอิทธิพลต่อการขายสินค้าและการหากำไรของกิจการ ดังนั้นผู้บริหารจึงควรตรวจสอบและให้ความสนใจแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจจะได้โอกาสใหม่ หรืออาจจะพบอุปสรรคที่สำคัญก็ได้ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจมีโอกาสออกสินค้าตัวใหม่ หรือเลิกผลิตสินค้าบางรายการ เนื่องจากผู้บริโภคไม่ต้องการอีกต่อไป เป็นต้น

นอกจากนี้ ปัจจัยทางการเมืองและกฎหมาย นับว่าเป็นอีก ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประกอบธุรกิจ ได้แก่ การเมือง กฎข้อบังคับ นโยบายของรัฐบาล แนวโน้มการออกกฎหมายและพระราชบัญญัติต่างๆ ได้แก่ กฎหมายภาษีอากร พระราชบัญญัติค่าแรงขั้นต่ำ พระราชบัญญัติการโฆษณา พระราชบัญญัติโรงงาน และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงาน ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงกฎหมายภาษีอากร อาจทำให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้นหรือ การเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลอาจเป็นผลดีต่อการส่งเสริมการลงทุนและการส่งออก เป็นต้น ดังนั้นธุรกิจจะต้องคอยติดตามความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและกฏหมายด้วย

ส่วนปัจจัยทางเทคโนโลยี ในปัจจุบัน นับได้ว่าการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนต มีความสำคัญต่อองค์การธุรกิจมาก โดยมีการนำเอาปัจจัยทางเทคโนโลยีมาพิจารณาเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เพื่อช่วยให้ธุรกิจมีเทคนิคและระบบการผลิตที่ทันสมัยขึ้น สามารถลดต้นทุนการผลิตลงและเพิ่มกำลังผลิต ช่วยให้สามารถจัดการ และมีการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วยิ่งขึ้นช่วยให้ธุรกิจสามารถผลิตสินค้าใหม่ๆ ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ปัจจัยระหว่างประเทศก็ส่งผลกระทบโดยตรงต่อหลายธุรกิจและเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน

คำถาม

สิ่งที่ผู้ประกอบการหรือ ผู้เป็นเจ้าของกิจการ ไม่ควรมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารในระดับใดนั่นก็ คือ

ปัจจัยแวดล้อมที่ควบคุมได้   หมายถึง

3 ปัจจัยแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมได้   หมายถึง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น